Posts

Showing posts from April, 2025

ข่าวประชาสัมพันธ์

Image
ปีก่อนหน้า      ปีปัจจุบัน สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย จะจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านความยั่งยืน ในรายวิชา GRI Standards Certified Training Course (ระยะเวลา 2 วัน) ในวันพุธและพฤหัสบดีที่ 7-8 พฤษภาคม 2568 ( ข้อมูลเพิ่มเติม ) • มาตรฐาน GRI กับความเข้าใจผิดเรื่องความยั่งยืน • ไทยติดอันดับประเทศที่มีการรายงานความยั่งยืนสูงสุด   สถาบันไทยพัฒน์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Webinar ครั้งที่ 1 สำหรับองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure Community (SDC) เพื่อส่งเสริมให้องค์กรสมาชิกได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดของมาตรฐานการรายงานสากล GRI Standards ในหัวข้อ Second set of GRI Labor Standards: Working life and career development เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 ( รายละเอียด )   บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ( ...

อ่านทาง ทีมนโยบายเศรษฐกิจ 'ทรัมป์'

Image
จากสัญญาณที่ทีมเศรษฐกิจในรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งนำโดย สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ฮาวเวิร์ด ลุตนิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สื่อสารออกมาให้เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วยเรื่อง พิกัดอัตราภาษี (Tariffs) การปฏิรูปภาษี (Tax Cuts) และการลดกฎเกณฑ์ (Deregulation) เพื่อจุดหมายในการลดหนี้ที่มีอยู่ราว 36 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 123% ของจีดีพี ในแผนระยะที่หนึ่งซึ่งรัฐบาลทรัมป์ ได้ดำเนินการแล้ว คือ การวางแนวทางเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) และการทยอยลดรายจ่ายในภาครัฐด้วยการยุบหน่วยงาน ลดบุคลากร ตัดงบประมาณ ฯลฯ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อภาวะเงินเฟ้อ และไม่ไปกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการลดภาษีในแผนระยะที่สอง จะช่วยให้ประชาชนมีเงินเหลือในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายกฎระเบียบในแผนระยะที่สาม จะช่วยเร่งการเติบโตในภาคการผลิต ซึ่งไปเพิ่มโอกาสการจ้างงานของภาคเอกชน (ที่ช่วยชดเชยการเลิกจ้างในภาครัฐด้วย) แม้นโยบายการเก็บภาษีต่างตอบแทน จะถูกมองเป็นสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจโลก และผลักให้นานาประเ...

รู้ทันนโยบายภาษีทรัมป์ ?

Image
การลงนามคำสั่งของฝ่ายบริหารโดยประธานาธิบดีทรัมป์ ต่อการใช้นโยบายภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) เพื่อหวังจะลดการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐอเมริกาจำนวน 1.2 ล้านล้านเหรียญ (ตัวเลขปี ค.ศ. 2024) ได้สร้างความกังวลให้กับประเทศคู่ค้าที่มีตัวเลขการค้าเกินดุล รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีตัวเลขการค้าเกินดุลอยู่ในอันดับ 8 ที่จำนวน 4.56 หมื่นล้านเหรียญ (คิดเป็น 3.8% ของยอดขาดดุลรวมของสหรัฐฯ) สำหรับประเทศไทย สหรัฐฯ กำหนดอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทนไว้ที่ 36% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 เป็นต้นไป ตัวเลขดังกล่าวมาจาก การนำยอดขาดดุลการค้ากับไทย (4.56 หมื่นล้านเหรียญ) หารด้วยยอดนำเข้าสินค้าจากไทยทั้งหมด (6.33 หมื่นล้านเหรียญ) ซึ่งเท่ากับ 72% และ สหรัฐฯ เรียกเก็บครึ่งเดียว จึงเท่ากับ 36% ตามข่าว มีการประเมินว่า ไทยจะมีมูลค่าความเสียหายอยู่ราว 8 แสนล้านบาท (ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขจริง) ตัวเลขนี้น่าจะมาจากการนำยอดส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ (6.33 หมื่นล้านเหรียญ) คูณกับอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทนที่สหรัฐฯ จะจัดเก็บ (ในอัตรา 36%) ในความเป็นจริง อัตราภาษี 36% เป็นภาษีนำเข้า เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากไทย (ซึ...