Posts

Showing posts from March, 2025

LHFG เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance)

Image
มุ่งเป้าลด Scope 3 Emissions ตามมาตรฐาน Corporate Net Zero ของ SBTi บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประกาศเข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในขอบข่ายที่ 3 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตาม Corporate Net-Zero Standard ที่สอดคล้องกับศาสตร์ทางภูมิอากาศ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) โดยนายวรวุฒน์ โตเจริญธนาผล President (ที่สองจากขวา) และนายวิเชียร อมรพูนชัย (ขวาสุด) กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ เข้าเป็นแนวร่วมอุณหภิบาล (CAG Alliance) ในฐานะบริษัทแนวหน้าด้านการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ โดยนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สองจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ นายวรวุฒน์ โตเจริญธนาผล President บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) ได้เข้าเป็นแนวร่วมอ...

รู้จักกรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ ตระกูล TxFD

Image
การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์กำลังผลักให้โลกเผชิญกับปัญหาทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมเชิงนิเวศ และความเหลื่อมล้ำทางสังคม โลกกำลังเผชิญกับการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพในทุกตัวชี้วัดคิดเป็น 2-6% ในทุก ๆ 10 ปี ตลอดห้วงเวลา 30-50 ปีที่ผ่านมา ที่ซึ่งประชากรกว่าครึ่งโลกได้รับผลกระทบ โดยตัวเลขการพึ่งพาธรรมชาติและบริการจากระบบนิเวศ ในปี ค.ศ. 2023 มีมูลค่าสูงถึง 58 ล้านล้านเหรียญ หรือมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าจีดีพีโลก หากมนุษย์ยังเพิกเฉยหรือชะลอการหยุดยั้งความสูญเสียในความหลากหลายทางชีวภาพ มูลค่าความสูญเสียในระยะ 10 ปี จะสูงเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินการทันที ในทางตรงข้าม หากภาคธุรกิจมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่เป็นผลบวกต่อธรรมชาติ จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจคิดเป็นมูลค่า 10 ล้านล้านเหรียญ และเกิดการสร้างงานราว 395 ล้านตำแหน่งทั่วโลก ภายในปี ค.ศ. 2030 ( IPBES Transformative Change Assessment , 2024) ในแง่ของความเหลื่อมล้ำทางสังคม จากฐานข้อมูลความเหลื่อมล้ำโลก ( WID ) ในปี ค.ศ. 2023 ระบุว่า รายรับของผู้มีรายได้สูงสุดในกลุ...

ใช้ ISSB มาตรฐานเดียว ไม่พอตอบโจทย์ความยั่งยืน

Image
กิจการที่ต้องการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมิได้สนใจเฉพาะข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืน ยังคงมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI เพื่อให้ครอบคลุมตามอุปสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มดังกล่าว ความจำกัดของข้อมูลทางการเงินที่กิจการเปิดเผยในรายงานทางการเงิน (Financial Statement) ที่ไม่สามารถให้ภาพที่สมบูรณ์เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน เนื่องเพราะเป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในอดีต เป็นเหตุให้หน่วยงานผู้จัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการรายงานทางการเงิน (IFRS) โดยคณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศ (ISSB) จำเป็นต้องออกมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืน (Sustainability-related Financial Disclosure) เพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลให้ทันกับสถานการณ์และปัจจัยการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยมาตรฐานฉบับที่ ISSB ประกาศใช้แล้ว ประกอบด้วย มาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ฉบับที่ 1 เรื่อง ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืน (IFRS S1) และฉบับที่ 2 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ...