Posts

Showing posts from February, 2025

กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD

Image
กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD เป็นการนำเสนอกรอบการรายงานความยั่งยืน ซึ่งได้ถูกยกระดับให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงหรือจำแนกตามเรื่องความยั่งยืนที่เร่งด่วน ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับภูมิอากาศ (กรอบ TCFD) การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับธรรมชาติ (กรอบ TNFD) และการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสังคมและความเหลื่อมล้ำ (กรอบ TISFD) กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ได้ถูกริเริ่มผ่านการก่อตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกบรรจุเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ฉบับที่ 2 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (IFRS S2) ภายใต้มาตรฐาน IFRS (International Financial Reporting Standards) ที่จะมีการทยอยบังคับใช้โดยหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศตามความเหมาะสมและความพร้อมที่แตกต่างกัน กรอบการรายงานความย...

งานแถลงทิศทาง ESG ปี 2568

Image
ปีก่อนหน้า     ปี60     ปี61     ปี62     ปี63     ปี64     ปี65     ปี66     ปี67     ปี68 สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลง ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ และการเสวนาเรื่อง ‘ESG from the Right Paradigm’ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 • กำหนดการ • ข่าวประชาสัมพันธ์ • เอกสารในช่วงการนำเสนอทิศทาง ESG ปี 2568 • เอกสารในช่วงเสวนา ESG from the Right Paradigm ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง • ถอดรหัส ESG: สูตรลับสู่ความยั่งยืนในกลยุทธ์ธุรกิจ ( The Story Thailand ) • 6 วิถีกลยุทธ์ยั่งยืน ESG ไม่ใช่แค่ อีเวนท์ ( มิติหุ้น ) • ไทยพัฒน์ เผยปี 68 ‘ESG’ ไม่ใช่แค่แผน แต่ต้องดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ( The Story Thailand ) • ไทยพัฒน์ ยกระดับธุรกิจสู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า ( กรุงเทพธุรกิจ ) • ไทยพัฒน์ แนะธุรกิจไทยยกระ...

6 ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’

ทิศทางที่ 1 Sustainability Stage: From ‘Journey’ to ‘Capacity’ กิจการที่ตระหนักว่า แม้การประกอบธุรกิจของตนจะอยู่ในวิถียั่งยืน (มาได้ถูกทาง) แต่ก็มิได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะเดินทางถึงปลายทางความยั่งยืนได้จริง ยังจำเป็นจะต้องมีพาหนะสำหรับการเดินทางที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การพัฒนาวิสัยยั่งยืน (ให้ไปถึงที่หมาย) ด้วยการบ่มเพาะสมรรถนะบุคลากรและการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG ที่มีนัยสำคัญและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจ พร้อมกับปรับแนวการดำเนินงานและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับวิสัยสามารถ (Capacity) ที่กิจการพัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ ทิศทางที่ 2 Sustainable Strategy: From ‘Setup Committee’ to ‘Rebalance Scorecard’ กิจการที่อาศัยกลยุทธ์ความยั่งยืนเป็นเครื่องมือดำเนินงานมาแล้วระยะหนึ่ง จะเริ่มดำเนินการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์องค์กร โดยมีคณะกรรมการบริษัทคอยตรวจสอบดูแล (Oversight) ดำเนินการศึกษาและปรับแต่งเครื่องมือและตัววัดเกี่ยวกับความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการและเป็นไปตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ สำหรับใช้กำกับดูแลใ...

ไทยพัฒน์ แถลงทิศทาง ESG ปี 2568

Image
ธุรกิจเดินหน้ายกระดับจาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คาดการณ์ทิศทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ของภาคธุรกิจไทย ปี 2568 ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน โดยยกระดับจาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ ที่สามารถนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายใต้ขีดจำกัดด้านทรัพยากรและการเผชิญกับกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ปี 2568 ความท้าทายด้านความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว นโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างภูมิภาค สังคมที่แบ่งขั้วจากการสร้างข้อมูลลวง และความไม่ลงรอยในเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโลก อันเป็นผลจากนโยบายทางการเมืองและการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ฯลฯ บทบาทของภาคเอกชนในปีนี้ นอกจากโจทย์ที่ต้องดำเนินการในทางธุรกิจอย่างเต็มมือแล้ว ยังต้องนำประเด็นความยั่งยืนที่เป็นความท้าทายข้างต้น มาเป็นปัจจัยในการกำหนดแนวทางและวางกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อรับมือกับมาตรการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวโยงกับภูมิรัฐศาสตร์ การทลายอุปสรรคและการกีดกันทางการค้าจากพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไม่จำ...

หนังสือ "6 ทิศทาง ESG ปี 2568"

Image
จากรายงาน Global Risks Report ประจำปี พ.ศ. 2568 ของ World Economic Forum ระบุว่า นอกจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเผชิญหน้าเชิงภูมิเศรษฐกิจที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค อาทิ การตั้งกำแพงภาษีนำเข้า การควบคุมสินค้าส่งออกที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง (เช่น เซมิคอนดักเตอร์ เครื่องผลิตชิป) หรือการให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมในประเทศ ฯลฯ จะเป็นความเสี่ยงระดับโลกที่มีนัยสำคัญสูงของปีนี้แล้ว ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ความเสี่ยงด้านสังคมที่เกิดจากข้อพิพาทโดยใช้กำลังอาวุธระหว่างรัฐ และความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลซึ่งมาจากการสร้างข้อมูลลวง (Disinformation) และการเผยแพร่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน (Misinformation) ได้ถูกจัดให้เป็นความเสี่ยงด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ในปี พ.ศ. 2568 ที่ส่งผลวิกฤตรุนแรงระดับโลกด้วยเช่นกัน ในระดับองค์กร ความเสี่ยงสำคัญทางด้าน ESG ในปีนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องผลกระทบจากกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (เช่น ภาษีคาร์บอน) ผลกระทบต่อการจ้างงานจากการนำเทคโนโลยี (เช่น ปัญ...

กำหนดการแถลง "ทิศทาง ESG ปี 2568"

กำหนดการแถลง ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ และการเสวนาเรื่อง ‘ESG from the Right Paradigm’ โดย สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันพฤหัสที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ สี่แยกปทุมวัน ถ.พระราม 1 13.00-13.30 น. ลงทะเบียน 13.30-14.15 น. กล่าวต้อนรับ และแถลงถึงทิศทาง ESG ประจำปี 2568 โดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ 14.15-14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.30-15.30 น. การเสวนาเรื่อง ‘ESG from the Right Paradigm’ โดย คุณวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ กรรมการ สถาบันไทยพัฒน์ ดำเนินการเสวนา โดย คุณโมไนย เย็นบุตร 15.30-16.00 น. ถาม-ตอบ และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 16.00 น. จบงาน * หมายเหตุ: กำหนดการและวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

Triple Up Plan

Image
เป็นที่รับรู้กันว่า กระแสเรื่องความยั่งยืนที่ส่งทอดสู่ภาคธุรกิจผ่านทางปัจจัยด้าน ESG ได้ส่งผลให้บริษัทมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ทั้งจากการรับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ด้าน ESG ต่าง ๆ มาดำเนินการโดยสมัครใจ และจากการถูกกำหนดเป็นข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ ๆ ด้าน ESG และกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาใหม่อย่างต่อเนื่อง ข้อบังคับที่กำหนดให้บริษัทต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปมีรายงานที่ต้องเปิดเผยเพิ่มขึ้นตาม EU Sustainable Finance Disclosures Regulation (SFDR) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2566 และ Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) ซึ่งได้ประกาศบังคับใช้ในปี 2567 เป็นตัวอย่างชัดเจนในทางปฏิบัติที่เพิ่งเกิดขึ้นและผ่านมาไม่นาน ล่าสุด Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 เป็นกฎระเบียบสำหรับใช้ในการกำกับดูแลและความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมีเวลา 2 ปี ในการปรับกฎหมายภายในประเทศเพื่อบังคับใช้กับภาคธุรกิจตามขนาดกิจการ โดยกฎระเบียบนี้ จะส่งผลโดยตรงและโ...

Double Materiality

Image
ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) หรือความเป็นสาระสำคัญของสิ่งที่พิจารณา ในที่นี้ คือ ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลความยั่งยืนของกิจการหนึ่ง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ให้เงินทุนหรือให้สินเชื่อแก่กิจการ ผู้มีส่วนได้เสียต้องทราบความแตกต่างระหว่างรายงานทางการเงิน (Financial Statement) รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (Sustainability-related Financial Disclosure) และรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นพื้นฐานก่อน รายงานทางการเงิน หรืองบการเงิน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายรับ และรายจ่ายของกิจการ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินกิจการที่ผ่านมาแล้วในอดีต รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่อยู่นอกเหนือข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นภาพรวมของปัจจัยความยั่งยืนอันส่งผลทางการเงิน (Financial Effect) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นได้ทั...

Single Strategy

Image
นับจากที่เรื่องความยั่งยืนได้เข้ามามีอิทธิพลกับธุรกิจจนได้กลายเป็นกระแสหลักที่ทุก ๆ กิจการจำเป็นต้องพิจารณานำมาดำเนินการกับองค์กรตนเอง เพื่อให้ก้าวทันกับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น และให้สอดรับกับภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จนในปัจจุบัน กิจการในแทบทุกอุตสาหกรรมได้ลุกขึ้นมาสื่อสารถึงการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับความยั่งยืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อไปสำรวจแนวทางการขับเคลื่อนความยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจนั้น ก็พบว่ามีความหลากหลายในการนำมาปฏิบัติใช้ โดยขึ้นกับชุดความคิดและสำนักวิชาที่ออกแบบและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละค่าย ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงบริบทในอุตสาหกรรมที่ทำให้การประยุกต์เรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันด้วย จุดตั้งต้นที่ใช่สำหรับกิจการ เป็นส่วนที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อน เพราะหากเริ่มต้นไม่ตรงจุด ยิ่งกิจการก้าวเดินต่อไปเรื่อย ๆ องศาของเส้นทางเดินที่ควรจะเป็น จะยิ่งเบ้ห่างออกจากจุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น ทำให้เสียทั้งเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ รวมทั้งต้องกลับมาแก้ไขตั้งต้นกันใหม่ หรือต้องปรับรื้อสิ่งที...

แนวโน้ม ESG ปี 2568 ในโลกที่เอียงขวา

Image
ESG มิใช่เครื่องมือที่ใช้เพียงจัดการความเสี่ยง แต่สามารถใช้เพื่อสร้างโอกาสที่มากับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) จากที่เป็นการขับเคลื่อนในแวดวงตลาดทุนที่มีความมุ่งประสงค์ให้บริษัทที่ลงทุน ดำเนินกิจการให้มีกำไรที่ดีพร้อมกันกับดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นไปด้วย ได้ก่อกำลังขึ้นจนพัฒนาเป็นวาระที่มีความเกี่ยวโยงกับฝ่ายการเมือง เนื่องจากการกำหนดนโยบายมหภาคด้าน ESG มีผลต่อทิศทางความเป็นไปของเศรษฐกิจโดยรวม จุดเปลี่ยนสำคัญ คือ การที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มาจากพรรคฝ่ายขวา ประกาศจุดยืนชัดเจนต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการยกเลิกและปรับรื้อกฎระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหลายเรื่อง รวมทั้งหันกลับมาสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือการออกนโยบายรับรองเพศสภาพเพียงสองเพศ ซึ่งส่งผลต่อแนวทางความหลากหลาย ความเป็นธรรม และไม่ปิดกั้น (DEI) ทางสังคม หรือการออกคำสั่งให้อัยการสูงสุดยุติการบังคับใช้กฎหมายการทุจริตในต่างประเทศ (FCPA) ซึ่งเป็นคว...

ข้อมูลความยั่งยืน มีสองเวอร์ชัน

Image
องค์กรที่มีความคุ้นเคยกับการประเมินสาระสองนัย หรือทวิสารัตถภาพอยู่แล้ว จะนิยมใช้มาตรฐาน IFRS ควบคู่กับมาตรฐาน GRI เพื่อให้ข้อมูลความยั่งยืนในทั้งสองเวอร์ชัน ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องความแตกต่างของข้อมูลความยั่งยืนที่ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยกันอยู่ในเวลานี้ เราในฐานะผู้ใช้ข้อมูลความยั่งยืนดังกล่าว ควรต้องทราบความแตกต่างระหว่างรายงานทางการเงิน (Financial Statement) รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (Sustainability-related Financial Disclosure) และรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นพื้นฐานก่อน รายงานทางการเงิน หรืองบการเงิน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายรับ และรายจ่ายของกิจการ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินกิจการที่ผ่านมาแล้วในอดีต รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่อยู่นอกเหนือข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นภาพรวมของปัจจัยความยั่งยืนอันส่งผลทางการเงิน (Financial Effect) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยปัจจัย...