Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD


กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD เป็นการนำเสนอกรอบการรายงานความยั่งยืน ซึ่งได้ถูกยกระดับให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงหรือจำแนกตามเรื่องความยั่งยืนที่เร่งด่วน ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับภูมิอากาศ (กรอบ TCFD) การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับธรรมชาติ (กรอบ TNFD) และการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสังคมและความเหลื่อมล้ำ (กรอบ TISFD)

กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ได้ถูกริเริ่มผ่านการก่อตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกบรรจุเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ฉบับที่ 2 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (IFRS S2) ภายใต้มาตรฐาน IFRS (International Financial Reporting Standards) ที่จะมีการทยอยบังคับใช้โดยหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศตามความเหมาะสมและความพร้อมที่แตกต่างกัน

กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ได้มีการก่อตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับธรรมชาติ (Task Force on Nature-related Financial Disclosures: TNFD) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สอดรับกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM-GBF) ซึ่งได้ถูกรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2565 เพื่อใช้เป็นกรอบให้ประเทศภาคีจำนวน 196 ประเทศ นำไปจัดทำเป้าหมายชาติ และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ

กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม ได้มีการก่อตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสังคมและความเหลื่อมล้ำ (Taskforce on Inequality and Social-related Financial Disclosures: TISFD) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสังคมและความเหลื่อมล้ำ โดยจะมีการออกกรอบการเปิดเผยข้อมูลฉบับแรกในปี พ.ศ. 2569

กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD ความหนา 38 หน้า จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลให้องค์กรธุรกิจได้รู้เท่าทันความเคลื่อนไหวในบริบทของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

 


ดาวน์โหลดหนังสือ
กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD




งานแถลงทิศทาง ESG ปี 2568

ปีก่อนหน้า   ปี60   ปี61   ปี62   ปี63   ปี64   ปี65   ปี66   ปี67   ปี68


สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลง ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ และการเสวนาเรื่อง ‘ESG from the Right Paradigm’ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1

กำหนดการ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกสารในช่วงการนำเสนอทิศทาง ESG ปี 2568
เอกสารในช่วงเสวนา ESG from the Right Paradigm

ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
ถอดรหัส ESG: สูตรลับสู่ความยั่งยืนในกลยุทธ์ธุรกิจ (The Story Thailand)
6 วิถีกลยุทธ์ยั่งยืน ESG ไม่ใช่แค่ อีเวนท์ (มิติหุ้น)
ไทยพัฒน์ เผยปี 68 ‘ESG’ ไม่ใช่แค่แผน แต่ต้องดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม (The Story Thailand)
ไทยพัฒน์ ยกระดับธุรกิจสู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า (กรุงเทพธุรกิจ)
ไทยพัฒน์ แนะธุรกิจไทยยกระดับ จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ นำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายใต้ขีดจำกัด (ผู้จัดการออนไลน์)
ไทยพัฒน์ เปิด 6 เครื่องยนต์ ESGสู่ องค์กรยั่งยืน (มิติหุ้น)
ไทยพัฒน์ เผยทิศทาง ESG ปี 68 (The Story Thailand)
แนวโน้ม ESG ปี 2568 ในโลกที่เอียงขวา
3 แนวโน้มสำคัญด้าน ESG ปี 2568

 


สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของภาคธุรกิจ ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 2025 ESG Trends: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ ความหนา 34 หน้า สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถใช้ประเด็นด้าน ESG ในการปรับแนวและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับขีดความสามารถของกิจการ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ


สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำหนังสือ กรอบการรายงานความยั่งยืนเฉพาะกิจ: ตระกูล TxFD ความหนา 38 หน้า ที่เป็นกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับภูมิอากาศ (TCFD) การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับธรรมชาติ (TNFD) และการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสังคมและความเหลื่อมล้ำ (TISFD) เพื่อให้องค์กรธุรกิจได้รู้เท่าทันความเคลื่อนไหวในบริบทของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง




6 ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’


ทิศทางที่ 1
Sustainability Stage: From ‘Journey’ to ‘Capacity’

กิจการที่ตระหนักว่า แม้การประกอบธุรกิจของตนจะอยู่ในวิถียั่งยืน (มาได้ถูกทาง) แต่ก็มิได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะเดินทางถึงปลายทางความยั่งยืนได้จริง ยังจำเป็นจะต้องมีพาหนะสำหรับการเดินทางที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การพัฒนาวิสัยยั่งยืน (ให้ไปถึงที่หมาย) ด้วยการบ่มเพาะสมรรถนะบุคลากรและการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG ที่มีนัยสำคัญและสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจ พร้อมกับปรับแนวการดำเนินงานและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับวิสัยสามารถ (Capacity) ที่กิจการพัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ


ทิศทางที่ 2
Sustainable Strategy: From ‘Setup Committee’ to ‘Rebalance Scorecard’

กิจการที่อาศัยกลยุทธ์ความยั่งยืนเป็นเครื่องมือดำเนินงานมาแล้วระยะหนึ่ง จะเริ่มดำเนินการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์องค์กร โดยมีคณะกรรมการบริษัทคอยตรวจสอบดูแล (Oversight) ดำเนินการศึกษาและปรับแต่งเครื่องมือและตัววัดเกี่ยวกับความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการและเป็นไปตามมาตรฐานที่สากลยอมรับ สำหรับใช้กำกับดูแลให้มีความสมดุลรอบด้าน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคณะกรรมการชุดย่อยเข้ามาทำหน้าที่แทนอีกต่อไป


ทิศทางที่ 3
Corporate Governance: From ‘Shareholder-centric’ to ‘Climate-aligned’

บริษัทจดทะเบียน จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่คณะกรรมการบริษัทต่อการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เป็นสาระสำคัญ ทั้งในมุมมองที่เป็นความเสี่ยงและโอกาสซึ่งกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร (Outside-in Perspective) และในมุมมองที่เป็นผลกระทบสู่ภายนอกทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Inside-out Perspective) เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานความยั่งยืนสำหรับเปิดเผยต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง


ทิศทางที่ 4
Climate Action: From ‘Green Policy’ to ‘Transition Plan’

กิจการซึ่งอยู่ในข่ายที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องศึกษาและจัดเตรียมข้อมูลการตรวจสอบสถานะ (Due Diligence) และจัดทำแผนการเปลี่ยนผ่าน รวมถึงอาจต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น เนื่องจากกฎระเบียบดังกล่าวมีผลทั้งในทางตรงและในทางอ้อมกับบริษัททั้งภายในและภายนอกสหภาพยุโรปที่เกี่ยวโยงกันผ่านห่วงโซ่การผลิตโลก


ทิศทางที่ 5
Company Disclosure: From ‘Sustainability-related Financial Disclosure’ to ‘Real-world Impact Report’

จากการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินให้แก่ผู้ลงทุนเป็นพื้นฐาน และเพิ่มเติมมาสู่การเตรียมเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืนตามมาตรฐาน IFRS S1 และ IFRS S2 เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ลงทุนในยุคปัจจุบัน กิจการที่ต้องการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง ซึ่งมิได้สนใจเฉพาะข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับความยั่งยืน ยังคงมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI เพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยครอบคลุมถึงการพึ่งพาและผลกระทบสู่โลกภายนอก (Real-world Impact Report) ตามอุปสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มดังกล่าว


ทิศทางที่ 6
Next Zero Target: From ‘Climate Agreement’ to ‘Biodiversity Framework’

ในปี 2568 จะมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ใช้มาตรฐานการรายงานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ในการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพตามเป้าหมายปลอดความสูญเสียสุทธิ (No Net Loss) เป็นเป้าหมายถัดจากการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น




ไทยพัฒน์ แถลงทิศทาง ESG ปี 2568

ธุรกิจเดินหน้ายกระดับจาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’


สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คาดการณ์ทิศทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ของภาคธุรกิจไทย ปี 2568 ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน โดยยกระดับจาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ ที่สามารถนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายใต้ขีดจำกัดด้านทรัพยากรและการเผชิญกับกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น

ปี 2568 ความท้าทายด้านความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว นโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างภูมิภาค สังคมที่แบ่งขั้วจากการสร้างข้อมูลลวง และความไม่ลงรอยในเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโลก อันเป็นผลจากนโยบายทางการเมืองและการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ฯลฯ

บทบาทของภาคเอกชนในปีนี้ นอกจากโจทย์ที่ต้องดำเนินการในทางธุรกิจอย่างเต็มมือแล้ว ยังต้องนำประเด็นความยั่งยืนที่เป็นความท้าทายข้างต้น มาเป็นปัจจัยในการกำหนดแนวทางและวางกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อรับมือกับมาตรการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวโยงกับภูมิรัฐศาสตร์ การทลายอุปสรรคและการกีดกันทางการค้าจากพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไม่จำกัดขั้ว เป็นต้น

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทาง ESG ปี 2568 ที่จัดขึ้นวันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2568) ว่า “ทิศทางหลักของ ESG ในปีนี้ จะเป็นการยกระดับการประกอบธุรกิจที่อยู่ในวิถียั่งยืน (มาได้ถูกทาง) ไปสู่การพัฒนาวิสัยยั่งยืน (ให้ไปถึงที่หมาย) เพื่อที่จะสามารถนำองค์กรบรรลุเป้าหมาย ภายใต้ขีดจำกัดที่องค์กรเผชิญอยู่ ทั้งภาวะตลาดที่หดตัว งบดำเนินงานที่ลดลง ทรัพยากรที่ตึงตัว และกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น

แม้องค์กรธุรกิจไทย จะมีการเดินทางสู่ความยั่งยืน หรือเรียกว่าอยู่ใน “วิถียั่งยืน” ที่ยืนยันได้ด้วยผลการรับรู้ (Perception) จากการสำรวจเชิงข้อมูลในหลายแหล่ง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผลสำรวจอาจไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่า กิจการเหล่านั้น มีความสามารถในการขับเคลื่อนความยั่งยืน หรือมี “วิสัยยั่งยืน” ที่ส่งผลให้เกิดเป็นจริง (Reality) ในเชิงปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด

ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้นำเสนอกระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือกรอบความคิดที่ภาคธุรกิจใช้ในการจับประเด็นด้าน ESG มาดำเนินการให้สอดรับกับขีดความสามารถของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดชุดกลยุทธ์หนึ่งเดียว (Single Strategy) การระบุสาระสำคัญสองนัย (Double Materiality) และการวางแผนยกระดับสามขั้น (Triple Up Plan) พร้อมกับการประเมินทิศทาง ESG ปี 2568 ใน 6 ทิศทางสำคัญ สำหรับให้ภาคธุรกิจใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการปรับแนวและจุดเน้นขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ (ดูเอกสารแนบ 6 ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’)

ในงานแถลงทิศทาง ESG ปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง ESG from the Right Paradigm เจาะลึกกระบวนทัศน์ในการกำหนดชุดกลยุทธ์หนึ่งเดียว การระบุสาระสำคัญสองนัย และการวางแผนยกระดับสามขั้น พร้อมตัวอย่างที่ช่วยให้องค์กรเห็นถึงวิธีการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจตามบริบทของแต่ละกิจการอย่างเป็นระบบ

นายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “ธุรกิจจำต้องมีกระบวนทัศน์สำหรับใช้วางแนวขับเคลื่อนองค์กร ที่ซึ่งกิจการสามารถผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ โดยจากผลสำรวจ 2025 CFO Sustainability Outlook Survey จากประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน 500 คนทั่วโลก พบว่า กว่าสองในสาม (70%) ของกิจการ ยังคงดำเนินการเรื่องความยั่งยืนแยกต่างหากจากกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยเป็นการตอบสนองต่อแรงกดดันของผู้มีส่วนได้เสีย (40%) และดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (30%) ขณะที่มีเพียงหนึ่งในห้า (21%) ของกิจการ ที่กำลังดำเนินการผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ

นายฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ กรรมการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวเสริมว่า “การดำเนินวิถียั่งยืนที่สอดรับกับวิสัยยั่งยืนของกิจการ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ในระยะที่ 1 เรื่องความยั่งยืนจะอยู่นอกวาระการพิจารณาของคณะกรรมการ ในระยะที่ 2 เรื่องความยั่งยืนจะถูกบรรจุอยู่ในวาระการพิจารณาของคณะกรรมการ และในระยะที่ 3 เรื่องความยั่งยืนจะถูกฝังตัวอยู่ในกลยุทธ์องค์กร โดยการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของบริษัทในไทยส่วนใหญ่ จะอยู่ในระยะที่หนึ่ง คือ มีโครงการด้านความยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ตามประเด็นที่สนใจ แต่ยังมิใช่การดำเนินงานในเชิงกลยุทธ์ และมีกิจการบางส่วนซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีการจัดทำกลยุทธ์ความยั่งยืน และดำเนินการอยู่ในระยะที่สอง

กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายขององค์กรในวิถีการเดินทาง (Journey) สู่ความยั่งยืน และจำเป็นต้องอาศัยวิสัยสามารถ (Capacity) ที่บ่มเพาะและสะสมระหว่างทางเป็นแรงส่งให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งต้องเริ่มจากกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องในการจับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนในบริบทของกิจการนั้น ๆ

องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่สนใจ สามารถศึกษาแนวการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนตามกระบวนทัศน์ดังกล่าว ในหนังสือ 2025 ESG Trends: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ ซึ่งสามารถดาวน์โหลด (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ได้ทางเว็บไซต์ https://thaipat.org ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันไทยพัฒน์ ปิยเลขา ไหล่แท้ โทร 0-2930-5227





หนังสือ "6 ทิศทาง ESG ปี 2568"


จากรายงาน Global Risks Report ประจำปี พ.ศ. 2568 ของ World Economic Forum ระบุว่า นอกจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเผชิญหน้าเชิงภูมิเศรษฐกิจที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค อาทิ การตั้งกำแพงภาษีนำเข้า การควบคุมสินค้าส่งออกที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง (เช่น เซมิคอนดักเตอร์ เครื่องผลิตชิป) หรือการให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมในประเทศ ฯลฯ จะเป็นความเสี่ยงระดับโลกที่มีนัยสำคัญสูงของปีนี้แล้ว

ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ความเสี่ยงด้านสังคมที่เกิดจากข้อพิพาทโดยใช้กำลังอาวุธระหว่างรัฐ และความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลซึ่งมาจากการสร้างข้อมูลลวง (Disinformation) และการเผยแพร่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน (Misinformation) ได้ถูกจัดให้เป็นความเสี่ยงด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ในปี พ.ศ. 2568 ที่ส่งผลวิกฤตรุนแรงระดับโลกด้วยเช่นกัน

ในระดับองค์กร ความเสี่ยงสำคัญทางด้าน ESG ในปีนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องผลกระทบจากกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (เช่น ภาษีคาร์บอน) ผลกระทบต่อการจ้างงานจากการนำเทคโนโลยี (เช่น ปัญญาประดิษฐ์) เข้ามาใช้งาน และผลกระทบจากการขาดธรรมาภิบาล (เช่น การปกปิดข้อมูล) และมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งหลายกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ยังไม่มีความคืบหน้าในการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่ควร

ในปี พ.ศ. 2568 ความท้าทายขององค์กรธุรกิจ ประกอบด้วย 2 เรื่องสำคัญ คือ ความหนักแน่นในการมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยไม่ออกนอกวิถีหรือลู่ทางที่ตั้งไว้ (เช่น การล้มเลิกหรือขยับลดเป้าหมายด้านภูมิอากาศ การเลื่อนแผนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน การถอนตัวจากภาคีด้าน ESG ที่ร่วมลงนาม ฯลฯ) และความสามารถในการนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ภายใต้วิสัยหรือขีดจำกัดที่องค์กรเผชิญอยู่ (เช่น ภาวะตลาดที่หดตัว งบดำเนินงานที่ลดลง ทรัพยากรที่ตึงตัว กฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ)

สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของภาคธุรกิจ ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 2025 ESG Trends: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’ สสำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถใช้ประเด็นด้าน ESG ในการปรับแนวและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับขีดความสามารถของกิจการ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพ

 


ดาวน์โหลดหนังสือ
2025 ESG Trends: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’



รายงาน 6 ทิศทาง CSR ฉบับปีก่อนหน้า



ทิศทาง CSR ปี 2565
      
ทิศทาง CSR ปี 2566
      
ทิศทาง ESG ปี 2567
      

ทิศทาง CSR ปี 2562
      
ทิศทาง CSR ปี 2563
      
ทิศทาง CSR ปี 2564
      

ทิศทาง CSR ปี 2559
      
ทิศทาง CSR ปี 2560
      
ทิศทาง CSR ปี 2561
      

ทิศทาง CSR ปี 2556
      
ทิศทาง CSR ปี 2557
      
ทิศทาง CSR ปี 2558
      

ทิศทาง CSR ปี 2553
      
ทิศทาง CSR ปี 2554
      
ทิศทาง CSR ปี 2555
      

ทิศทาง CSR ปี 2550
      
ทิศทาง CSR ปี 2551
      
ทิศทาง CSR ปี 2552




กำหนดการแถลง "ทิศทาง ESG ปี 2568"


กำหนดการแถลง
ทิศทาง ESG ปี 2568: จาก ‘วิถียั่งยืน’ สู่ ‘วิสัยยั่งยืน’
และการเสวนาเรื่อง
‘ESG from the Right Paradigm’
โดย สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันพฤหัสที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ สี่แยกปทุมวัน ถ.พระราม 1


13.00-13.30 น.ลงทะเบียน
13.30-14.15 น.กล่าวต้อนรับ
และแถลงถึงทิศทาง ESG ประจำปี 2568 โดย
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
ประธาน สถาบันไทยพัฒน์
14.15-14.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง
14.30-15.30 น.การเสวนาเรื่อง
‘ESG from the Right Paradigm’ โดย
คุณวรณัฐ เพียรธรรม
ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์
คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์
กรรมการ สถาบันไทยพัฒน์
ดำเนินการเสวนา โดย
คุณโมไนย เย็นบุตร
15.30-16.00 น.ถาม-ตอบ และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
16.00 น.จบงาน


* หมายเหตุ: กำหนดการและวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม




Triple Up Plan


เป็นที่รับรู้กันว่า กระแสเรื่องความยั่งยืนที่ส่งทอดสู่ภาคธุรกิจผ่านทางปัจจัยด้าน ESG ได้ส่งผลให้บริษัทมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ทั้งจากการรับเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ด้าน ESG ต่าง ๆ มาดำเนินการโดยสมัครใจ และจากการถูกกำหนดเป็นข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ ๆ ด้าน ESG และกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาใหม่อย่างต่อเนื่อง

ข้อบังคับที่กำหนดให้บริษัทต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปมีรายงานที่ต้องเปิดเผยเพิ่มขึ้นตาม EU Sustainable Finance Disclosures Regulation (SFDR) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2566 และ Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) ซึ่งได้ประกาศบังคับใช้ในปี 2567 เป็นตัวอย่างชัดเจนในทางปฏิบัติที่เพิ่งเกิดขึ้นและผ่านมาไม่นาน

ล่าสุด Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 เป็นกฎระเบียบสำหรับใช้ในการกำกับดูแลและความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมีเวลา 2 ปี ในการปรับกฎหมายภายในประเทศเพื่อบังคับใช้กับภาคธุรกิจตามขนาดกิจการ โดยกฎระเบียบนี้ จะส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อบริษัททั้งภายในและภายนอกสหภาพยุโรป รวมถึงให้อำนาจแก่ประเทศสมาชิกกำหนดบทลงโทษและข้อห้ามการนำเข้าสินค้าและบริการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือทำลายสิ่งแวดล้อม

ผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่กำหนด และต้องเตรียมข้อมูลการตรวจสอบสถานะ (Due Diligence) ของห่วงโซ่คุณค่า โดยต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่อาจเข้มงวดขึ้น

กฎระเบียบนี้ อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้ประกอบการไทย ต้องลงทุนในเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เคารพสิทธิมนุษยชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาความรู้แก่บุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ และยังต้องมีการประเมินและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งหากพบว่าการดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทางบริษัทต้องเตรียมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขหรือลดผลกระทบเชิงลบดังกล่าวให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าด้วยสิทธิและข้อห้ามที่รวมอยู่ในกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ตลอดจนข้อห้ามและข้อบังคับที่รวมอยู่ในกลไกด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้ประกอบการไทย จำเป็นต้องมีแผนขับเคลื่อนความยั่งยืน ผ่านทางปัจจัยด้าน ESG ที่กิจการมีความเกี่ยวข้องและอยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตาม เพื่อรับมือกับกฎระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเหมาะสม

เนื่องจากแต่ละกิจการจะมีความเกี่ยวโยงกับกฎระเบียบดังกล่าวมากน้อยแตกต่างกันไป ผู้ประกอบการไทยซึ่งอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการไทยที่เข้าเกณฑ์ หรือกิจการในประเทศอื่นที่อยู่ในข่าย อาจถูกร้องขอให้มีการจัดทำรายงานการตรวจสอบสถานะในฐานะคู่ค้า เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยกิจการเหล่านั้น

โดยความเข้มข้นของการตรวจสอบสถานะขึ้นกับลำดับว่าเป็นคู่ค้าทางตรง/คู่ค้าลำดับแรก (Tier 1 Suppliers) หรือเป็นคู่ค้าทางอ้อม/คู่ค้าที่ผลิตหรือให้บริการแก่คู่ค้าลำดับแรกอีกทอดหนึ่ง (Non-Tier 1 Suppliers) หรือขึ้นกับความสำคัญว่าเป็นคู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง หรือเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ซึ่งมีผลกระทบสูงต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือเป็นคู่ค้าที่มีน้อยรายและไม่สามารถหาทดแทนได้ เป็นต้น

แผนขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืน ในขั้นแรก จะเป็นการ Catch Up หรือตามกฎระเบียบให้ทัน เพื่อที่บริษัทจะได้รักษาสถานะการเป็นคู่ค้าตามลำดับในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน ESG ดังกล่าว ในขั้นต่อมา จะเป็นการ Step Up หรือดันมูลค่าการซื้อขายให้เติบโต เพื่อที่บริษัทจะได้เลื่อนระดับขึ้นเป็นคู่ค้าสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน ESG ดังกล่าว และในขั้นที่สาม จะเป็นการ Value Up หรือแสดงให้เห็นคุณค่าของบริษัทต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่น เพื่อที่บริษัทจะสามารถแสวงหาโอกาสตลาดจากห่วงโซ่คุณค่าของกิจการอื่นที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน ESG ดังกล่าวเพิ่มเติม

แผนขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนผ่านทางปัจจัยด้าน ESG ทั้งสามขั้น รวมเรียกว่า ESG Triple Up Plan ถูกออกแบบให้เป็นแผนงานด้าน ESG สำหรับผู้ประกอบการซึ่งมุ่งประสงค์ที่จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจจากการถูกลบชื่อออกจากรายชื่อผู้ค้า (Vendor List) ของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน ESG รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางการตลาดจากการได้บรรจุเป็นผู้ค้าใหม่ในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการอื่นที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน ESG อีกต่อหนึ่ง

การปฏิบัติตามแผน ESG Triple Up Plan ข้างต้น โดยเนื้องานของการดำเนินการ ยังช่วยสร้างให้เกิดผลกระทบทางบวก จากการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วย




Double Materiality


ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) หรือความเป็นสาระสำคัญของสิ่งที่พิจารณา ในที่นี้ คือ ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลความยั่งยืนของกิจการหนึ่ง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ให้เงินทุนหรือให้สินเชื่อแก่กิจการ ผู้มีส่วนได้เสียต้องทราบความแตกต่างระหว่างรายงานทางการเงิน (Financial Statement) รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (Sustainability-related Financial Disclosure) และรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นพื้นฐานก่อน

รายงานทางการเงิน หรืองบการเงิน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายรับ และรายจ่ายของกิจการ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินกิจการที่ผ่านมาแล้วในอดีต

รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่อยู่นอกเหนือข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นภาพรวมของปัจจัยความยั่งยืนอันส่งผลทางการเงิน (Financial Effect) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาสของกิจการ

รายงานความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบอันเกิดจากการดำเนินงานของกิจการ ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

สารัตถภาพของข้อมูลในงบการเงิน และในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ต่างกันตรงที่ หากกิจการเห็นว่ามีความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลทางการเงิน จะถือว่าข้อมูลนั้นมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ขณะที่ข้อมูลชุดเดียวกันนั้น ยังไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์สาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในงบการเงิน (เพราะเหตุการณ์นั้น ๆ ยังไม่ได้เกิดขึ้น)

ความแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือ ความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลทางการเงินต่อกิจการ อาจเกิดขึ้นโดยความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เช่น จากคู่ค้าในห่วงโซ่คุณค่าทั้งฝั่งต้นน้ำและฝั่งปลายน้ำ ที่ยังคงนับว่าข้อมูลนั้นมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ขณะที่ข้อมูลชุดเดียวกันนั้น ไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์สาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในงบการเงิน (เพราะไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวกับกิจการ)

ข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลทางการเงินต่อกิจการ และมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน รวมเรียกว่า ข้อมูลที่มี “สารัตถภาพเชิงการเงิน” (Financial Materiality)

ส่วนข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ ทั้งจากสถานประกอบการที่กิจการเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุม จากห่วงโซ่คุณค่าทั้งฝั่งต้นน้ำและฝั่งปลายน้ำ จากผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดถึงจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ จะถือว่ามีสาระสำคัญเมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ความรุนแรง (Severity) ที่ส่งผลต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม โดยที่มีกิจการเป็นต้นเหตุ (Caused) มีส่วนสนับสนุน (Contribute) หรือเกี่ยวโยงโดยตรง (Directly linked)

ข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ และมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานความยั่งยืน เรียกว่า ข้อมูลที่มี “สารัตถภาพเชิงผลกระทบ” (Impact Materiality)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ ยังสามารถเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสของกิจการที่มีสาระสำคัญซึ่งสามารถส่งผลกระทบทางการเงินได้อีกทอดหนึ่ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น กิจการจะต้องเปิดเผยความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดจากผลกระทบดังกล่าวในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนด้วย

การวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยง (Risks) และโอกาส (Opportunities) ที่สามารถส่งผลทางการเงินต่อกิจการ ควบคู่กับข้อมูลผลกระทบ (Impacts) ที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ เพื่อประเมินความเป็นสาระสำคัญของข้อมูลสำหรับการรายงาน เรียกว่า สาระสำคัญสองนัย (Double Materiality) หรือใช้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “ทวิสารัตถภาพ”

ทวิสารัตถภาพ เป็นหลักการที่ถูกบรรจุอยู่ในมาตรฐานระหว่างประเทศ อาทิ มาตรฐาน ESRS (European Sustainability Reporting Standards) ที่กำหนดให้กิจการซึ่งอยู่ในข่าย ต้องดำเนินการประเมินประเด็นที่เป็นสาระสำคัญทั้งนัยทางการเงินและนัยของผลกระทบ โดยไม่ต้องการให้จำกัดเฉพาะการประเมินสารัตถภาพที่คำนึงถึงแต่ตัวกิจการเพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งความยั่งยืนของกิจการผ่านทางตัวชี้วัดที่ส่งผลทางการเงิน และความยั่งยืนของส่วนรวมผ่านตัวชี้วัดที่ส่งผลกระทบสู่ภายนอก ควบคู่ไปพร้อมกัน


Investor-focused vs Stakeholder-focused Reporting Landscape

สำหรับองค์กรที่มีความคุ้นเคยกับการประเมินสาระสองนัย หรือทวิสารัตถภาพอยู่แล้ว จะนิยมใช้มาตรฐาน IFRS (International Financial Reporting Standards) สำหรับอ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เป็นความเสี่ยงและโอกาสทางการเงินในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน และใช้มาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiative) สำหรับอ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่เป็นผลกระทบจากการดำเนินงานของกิจการในรายงานความยั่งยืน


บทความ Double Materiality


- รู้จักเครื่องมือ Double Materiality
- ข้อมูลความยั่งยืน มีสองเวอร์ชัน
- การพัฒนาความยั่งยืนจาก 'องค์กร' สู่ 'องค์รวม'
- เหรียญ 2 ด้านของความยั่งยืน
- หลักการชี้แนะสำหรับการรายงานความยั่งยืน


แนะนำเครื่องมือ Double Materiality







Single Strategy


นับจากที่เรื่องความยั่งยืนได้เข้ามามีอิทธิพลกับธุรกิจจนได้กลายเป็นกระแสหลักที่ทุก ๆ กิจการจำเป็นต้องพิจารณานำมาดำเนินการกับองค์กรตนเอง เพื่อให้ก้าวทันกับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น และให้สอดรับกับภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จนในปัจจุบัน กิจการในแทบทุกอุตสาหกรรมได้ลุกขึ้นมาสื่อสารถึงการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับความยั่งยืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ดี เมื่อไปสำรวจแนวทางการขับเคลื่อนความยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจนั้น ก็พบว่ามีความหลากหลายในการนำมาปฏิบัติใช้ โดยขึ้นกับชุดความคิดและสำนักวิชาที่ออกแบบและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละค่าย ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงบริบทในอุตสาหกรรมที่ทำให้การประยุกต์เรื่องดังกล่าวมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันด้วย

จุดตั้งต้นที่ใช่สำหรับกิจการ เป็นส่วนที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อน เพราะหากเริ่มต้นไม่ตรงจุด ยิ่งกิจการก้าวเดินต่อไปเรื่อย ๆ องศาของเส้นทางเดินที่ควรจะเป็น จะยิ่งเบ้ห่างออกจากจุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น ทำให้เสียทั้งเวลา ทรัพยากร และงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ รวมทั้งต้องกลับมาแก้ไขตั้งต้นกันใหม่ หรือต้องปรับรื้อสิ่งที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้

ที่ผ่านมา ความเข้าใจแรกของกิจการในหลายแห่งที่มีต่อเรื่องดังกล่าว คือ การขับเคลื่อนความยั่งยืน องค์กรต้องจัดทำกลยุทธ์ความยั่งยืนขึ้นมาใช้ในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความยั่งยืน เป็นสถานะของกิจการ ที่ทุกองค์กรคาดหวังให้เกิดขึ้น หรือเป็นผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริง กิจการไม่สามารถบังคับบัญชาให้เกิดขึ้นได้เอง ทำได้แต่เพียงสร้างเหตุปัจจัย หรือเงื่อนไขที่เอื้อให้สภาพความยั่งยืนเกิดขึ้น โดยปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่าส่งผลโดยตรงต่อความยั่งยืน ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG)

การที่องค์กรหนึ่ง ๆ ออกมาสื่อสารว่า ได้จัดทำกลยุทธ์ความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว แท้ที่จริงคือ การดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG (เป็นวิธีการ หรือ Mean) เพื่อให้ได้มาซึ่งความยั่งยืน (เป็นปลายทาง หรือ End) เนื่องเพราะกิจการไม่สามารถกำหนดหรือกำกับให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เอง โดยปราศจากการใส่เหตุปัจจัยที่เหมาะสม

นั่นหมายความว่า แทนที่กิจการจะจัดทำกลยุทธ์ความยั่งยืน ขึ้นมาเพื่อดำเนินการ กิจการควรจะต้องมีการจัดทำกลยุทธ์องค์กรที่ได้ผนวกการพิจารณาปัจจัยด้าน ESG เข้าไว้ในกลยุทธ์อย่างรอบด้าน สอดคล้องกับบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางนี้ต่างหากที่จะทำให้สถานะความยั่งยืนของกิจการเกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด

ทั้งนี้ เพื่อให้กิจการมีกลยุทธ์องค์กรที่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียว (Single Strategy) ไม่ก่อให้เกิดภาวะกลยุทธ์คู่ขนาน โดยมีทั้งกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ความยั่งยืนที่สร้างความสับสนและซ้ำซ้อนให้แก่พนักงานรวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับกิจการที่เข้าใจหรือเดินมาถึงจุดนี้ จะพบว่าไม่มีความจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการความยั่งยืน หรือคณะทำงานด้าน ESG เพิ่มเติมเป็นการเฉพาะสำหรับดูแลการขับเคลื่อน เนื่องจากปัจจัยด้าน ESG ได้ถูกนำมาพิจารณาหลอมรวมอยู่ในกลยุทธ์องค์กรซึ่งสามารถถ่ายทอดลงสู่การปฏิบัติผ่านกลไกที่มีอยู่เดิมได้ตามปกติ

หนึ่งในวิธีการสำหรับกิจการที่คุ้นเคยกับการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการ คือ การปรับแต่งแผนที่กลยุทธ์ด้วยการผนวกปัจจัยด้าน ESG และขยายมุมมองให้ครอบคลุมเรื่องความยั่งยืน


Translating Vision and Strategy: Four Perspectives Extension

โดยในมุมมองแรก เรื่องการเงิน (Financial) ที่กิจการใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จผ่านทางตัวเลขทางการเงิน จำต้องขยายมาสู่การบรรจุตัววัดที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG ในบริบทของผลกระทบ (Impact) จากการประกอบธุรกิจที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับการประเมินสาระสำคัญสองนัย (Double Materiality) ระหว่างนัยทางการเงินกับนัยของผลกระทบที่อยู่ในหัวข้อถัดไป

มุมมองต่อมา เรื่องลูกค้า (Customer) ที่กิจการใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในแง่การเติบโตของธุรกิจที่เป็นผลจากความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า จำต้องขยายมาสู่การบรรจุตัววัดในแง่ความยั่งยืนของกิจการที่เป็นผลจากความสามารถในการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG ที่รวมถึงประเด็นด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติทางสัญญาที่เป็นธรรม และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ถัดมาเป็นมุมมองเรื่อง กระบวนการภายใน (Internal Process) ที่ปัจจุบัน กิจการมิได้จำกัดอยู่เพียงการบริหารจัดการกระบวนการภายในองค์กร แต่ยังต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเป็นกิจกรรมที่ขึ้นกับกระบวนการภายนอกองค์กร (External Process) และเป็นไปเพื่อคงขีดความสามารถทางการแข่งขันของกิจการ โดยเฉพาะในส่วนที่มีความเกี่ยวโยงกับปัจจัยด้าน ESG ของคู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้แทนจำหน่าย และคู่ความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง

และมุมมองสุดท้ายเป็นเรื่อง การเรียนรู้และการเติบโต (Learning and Growth) ที่จำเป็นต้องขยายมุมมองด้วยการเพิ่มเติมเรื่องความใส่ใจต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ ในระดับที่สามารถก่อให้เกิดเป็นความยั่งยืนของกิจการและความยั่งยืนของส่วนรวมในท้ายที่สุด (Caring and Last)

การจัดทำแผนที่กลยุทธ์จะช่วยให้กิจการเห็นภาพรวม (Holistic View) ของปัจจัยด้าน ESG ที่นำไปสู่ความยั่งยืน และเห็นการปรับแนวการดำเนินงานและจุดเน้น (Alignment and Focused) ขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ

จะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ปรากฏในแผนที่กลยุทธ์ซึ่งได้ถูกขยายให้ครอบคลุมเรื่องความยั่งยืน มีความสัมพันธ์กันในเชิงเหตุและผล (Cause and Effect) ระหว่างมุมมอง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า การดำเนินการกับปัจจัยด้าน ESG สามารถผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้เข้ากับวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนได้ภายใต้แผนที่กลยุทธ์หนึ่งเดียว




แนวโน้ม ESG ปี 2568 ในโลกที่เอียงขวา


ESG มิใช่เครื่องมือที่ใช้เพียงจัดการความเสี่ยง แต่สามารถใช้เพื่อสร้างโอกาสที่มากับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) จากที่เป็นการขับเคลื่อนในแวดวงตลาดทุนที่มีความมุ่งประสงค์ให้บริษัทที่ลงทุน ดำเนินกิจการให้มีกำไรที่ดีพร้อมกันกับดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นไปด้วย ได้ก่อกำลังขึ้นจนพัฒนาเป็นวาระที่มีความเกี่ยวโยงกับฝ่ายการเมือง เนื่องจากการกำหนดนโยบายมหภาคด้าน ESG มีผลต่อทิศทางความเป็นไปของเศรษฐกิจโดยรวม

จุดเปลี่ยนสำคัญ คือ การที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มาจากพรรคฝ่ายขวา ประกาศจุดยืนชัดเจนต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการยกเลิกและปรับรื้อกฎระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหลายเรื่อง รวมทั้งหันกลับมาสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือการออกนโยบายรับรองเพศสภาพเพียงสองเพศ ซึ่งส่งผลต่อแนวทางความหลากหลาย ความเป็นธรรม และไม่ปิดกั้น (DEI) ทางสังคม หรือการออกคำสั่งให้อัยการสูงสุดยุติการบังคับใช้กฎหมายการทุจริตในต่างประเทศ (FCPA) ซึ่งเป็นความเสี่ยงทางธรรมาภิบาลที่กระทบต่อธุรกิจเป็นลูกโซ่ เป็นต้น

สำหรับในสหภาพยุโรป นับจากผลการเลือกตั้งสภายุโรปเมื่อกลางปีที่แล้ว ที่พรรคขวากลางได้ครองที่นั่งมากสุดและพรรคขวาจัดได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น ก็มีสัญญาณการปรับนโยบายทางสิ่งแวดล้อมจากเขียวเข้มมาเป็นเขียวอ่อน ในรูปแบบของการเลื่อนหรือชะลอการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การเลื่อนใช้ข้อบังคับว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่า (EUDR) หรือการลดความเข้มงวดของกฎหมาย เช่น การผ่านบทบัญญัติว่าด้วยการตรวจสอบสถานะความยั่งยืนของกิจการ (CSDDD) ที่ปรับลดจำนวนและเงื่อนไขของกิจการที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามลง

ล่าสุด สภายุโรปกำลังจะออกข้อบังคับสารพัน (Omnibus Regulation) ที่จะควบรวมกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ ข้อบังคับอนุกรมวิธานแห่งสหภาพยุโรป (EU Taxonomy) ที่ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 2020 ซึ่งใช้แบ่งหมวดหมู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน บทบัญญัติว่าด้วยการรายงานความยั่งยืนของกิจการ (CSRD) ที่ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 2022 ซึ่งใช้กำหนดรูปแบบการรายงานที่มิใช่ทางการเงินของบริษัท และบทบัญญัติว่าด้วยการตรวจสอบสถานะความยั่งยืนของกิจการ (CSDDD) ที่ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 2024 ซึ่งกำหนดให้บริษัทต้องตรวจสอบผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชนและด้านสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่คุณค่า พร้อมกับการออกแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ง่ายลงด้วย

สถานการณ์ที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ต่างกำลังปรับรื้อนโยบายและกฎหมายให้เอื้อประโยชน์และมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่ประเทศของตน บีบคั้นให้รัฐบาลจีน ต้องหันมากระชับความร่วมมือกับภาคเอกชนในประเทศ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติจีนที่มีทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีซึ่งสามารถต่อกรกับประเทศตะวันตก โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนได้มีการจัดเวทีพบปะระหว่างผู้นำรัฐบาลกับผู้นำภาคเอกชน เพื่อรวมกำลังกันในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ด้วยข้อได้เปรียบในระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจีน

เมื่อโลกมิได้เสรี ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน แรงงาน เทคโนโลยี และข้อมูลได้ดังเดิม แต่เกิดการแบ่งขั้วภูมิภาค การปกป้องเทคโนโลยี การแยกห่วงโซ่การผลิต โดยมีประโยชน์ (ทางเศรษฐกิจและสังคม) ของประเทศตนเป็นที่ตั้ง ทำให้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อโลกโดยรวม (โดยเฉพาะทางสิ่งแวดล้อม) จะถูกลำดับความสำคัญให้เป็นเรื่องรองอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

ภาคธุรกิจ โดยสัญชาตญาณ มิได้ต้องการที่จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างขั้ว หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ฉุดรั้งการเติบโตของธุรกิจ หรือเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหากำไร ฉะนั้น การปรับตัวเพื่อให้กิจการมีโอกาสในการสร้างรายได้ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใด จึงเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจมุ่งหมายให้เกิดขึ้น

โดย 3 แนวโน้มสำคัญด้าน ESG ที่จะเกิดขึ้น นับจากปี ค.ศ. 2025 ได้แก่

1) หลายธุรกิจจะได้อานิสงส์จากการผ่อนคลายกฎระเบียบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไปลดภาระการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้กิจกรรมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องทำเพื่อสิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มลดลง

2) ธุรกิจจะต้องมีความสามารถในการจัดทำกลยุทธ์องค์กรที่คำนึงถึงการเติบโตซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ และพัฒนาขีดความสามารถในการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกที่ไม่จำกัดขั้ว

3) การนำประเด็น ESG มาใช้เพิ่มโอกาสในการสร้างมูลค่าจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย นอกเหนือจากการหารายได้กับกลุ่มลูกค้าจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงประเด็น ESG เพื่อนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้น


เห็นได้ว่า ESG มิใช่เครื่องมือที่ใช้เพียงจัดการความเสี่ยง แต่สามารถใช้เพื่อสร้างโอกาสที่มากับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) จากการใช้ประโยชน์ในประเด็นด้าน ESG ที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการ เกิดเป็นผลดีทั้งกับกิจการและผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะ “Who cares earns” (ยิ่งใส่ใจ ยิ่งได้รับ)

การดำเนินการดังกล่าว จำเป็นที่ธุรกิจต้องมีกระบวนทัศน์ (Paradigm) สำหรับใช้วางแนวขับเคลื่อนองค์กร ที่ซึ่งกิจการสามารถผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ โดยสถาบันไทยพัฒน์จะได้นำเสนอกรอบความคิดและทิศทาง ESG ที่ใช้ในการปรับแนวและจุดเน้นขององค์กรให้สอดรับกับขีดความสามารถของกิจการ เพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอย่างมีสมรรถภาพในโอกาสต่อไป


[Original Link]



ข้อมูลความยั่งยืน มีสองเวอร์ชัน


องค์กรที่มีความคุ้นเคยกับการประเมินสาระสองนัย หรือทวิสารัตถภาพอยู่แล้ว จะนิยมใช้มาตรฐาน IFRS ควบคู่กับมาตรฐาน GRI เพื่อให้ข้อมูลความยั่งยืนในทั้งสองเวอร์ชัน

ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องความแตกต่างของข้อมูลความยั่งยืนที่ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยกันอยู่ในเวลานี้ เราในฐานะผู้ใช้ข้อมูลความยั่งยืนดังกล่าว ควรต้องทราบความแตกต่างระหว่างรายงานทางการเงิน (Financial Statement) รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (Sustainability-related Financial Disclosure) และรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นพื้นฐานก่อน

รายงานทางการเงิน หรืองบการเงิน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายรับ และรายจ่ายของกิจการ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินกิจการที่ผ่านมาแล้วในอดีต

รายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่อยู่นอกเหนือข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นภาพรวมของปัจจัยความยั่งยืนอันส่งผลทางการเงิน (Financial Effect) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาสของกิจการ (เป็นข้อมูลความยั่งยืนฝั่งขาเข้า หรือ Outside-in)

รายงานความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบอันเกิดจากการดำเนินงานของกิจการ ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (เป็นข้อมูลความยั่งยืนฝั่งขาออก หรือ Inside-out)

สารัตถภาพหรือความเป็นสาระสำคัญ (Materiality) ของข้อมูลในงบการเงิน และในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ต่างกันตรงที่ ประการแรก หากกิจการเห็นว่ามีความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลทางการเงิน จะถือว่าข้อมูลนั้นมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ขณะที่ข้อมูลชุดเดียวกันนั้น ยังไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์สาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในงบการเงิน (เพราะเหตุการณ์นั้น ๆ ยังไม่ได้เกิดขึ้น)

ความแตกต่างประการที่สอง คือ ความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลทางการเงินต่อกิจการ อาจเกิดขึ้นโดยความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เช่น จากคู่ค้าในห่วงโซ่คุณค่าทั้งฝั่งต้นน้ำและฝั่งปลายน้ำ ที่ยังคงนับว่าข้อมูลนั้นมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน ขณะที่ข้อมูลชุดเดียวกันนั้น ไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์สาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในงบการเงิน (เพราะไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวกับกิจการ)

ข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลทางการเงินต่อกิจการ และมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน รวมเรียกว่า ข้อมูลที่มี “สารัตถภาพเชิงการเงิน” (Financial Materiality)

ส่วนข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ ทั้งจากสถานประกอบการที่กิจการเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุม จากห่วงโซ่คุณค่าทั้งฝั่งต้นน้ำและฝั่งปลายน้ำ จากผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดถึงจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ จะถือว่ามีสาระสำคัญเมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ความรุนแรง (Severity) ที่ส่งผลต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม โดยที่มีกิจการเป็นต้นเหตุ (Caused) มีส่วนสนับสนุน (Contribute) หรือเกี่ยวโยงโดยตรง (Directly linked)

ข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ และมีสาระสำคัญที่ต้องเปิดเผยในรายงานความยั่งยืน เรียกว่า ข้อมูลที่มี “สารัตถภาพเชิงผลกระทบ” (Impact Materiality)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ ยังสามารถเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสของกิจการที่มีสาระสำคัญซึ่งสามารถส่งผลกระทบทางการเงินได้อีกทอดหนึ่ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น กิจการจะต้องเปิดเผยความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดจากผลกระทบดังกล่าวในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนด้วย

การวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยง (Risks) และโอกาส (Opportunities) ที่สามารถส่งผลทางการเงินต่อกิจการ ควบคู่กับข้อมูลผลกระทบ (Impacts) ที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการ เพื่อประเมินความเป็นสาระสำคัญของข้อมูลสำหรับการรายงาน เรียกว่า สาระสำคัญสองนัย (Double Materiality) หรือใช้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “ทวิสารัตถภาพ”

ทวิสารัตถภาพ เป็นหลักการที่ถูกบรรจุอยู่ในมาตรฐานระหว่างประเทศ อาทิ มาตรฐาน ESRS (European Sustainability Reporting Standards) ที่กำหนดให้กิจการซึ่งอยู่ในข่าย ต้องดำเนินการประเมินประเด็นที่เป็นสาระสำคัญทั้งนัยทางการเงินและนัยของผลกระทบ โดยไม่ต้องการให้จำกัดเฉพาะการประเมินสารัตถภาพที่คำนึงถึงแต่ตัวกิจการเพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งความยั่งยืนของกิจการผ่านตัวชี้วัดที่ส่งผลทางการเงิน และความยั่งยืนของส่วนรวมผ่านตัวชี้วัดที่ส่งผลกระทบสู่ภายนอก ควบคู่ไปพร้อมกัน


ภูมิทัศน์ของการรายงานที่มุ่งเน้นผู้ลงทุน กับการรายงานที่มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้เสีย

สำหรับองค์กรที่มีความคุ้นเคยกับการประเมินสาระสองนัย หรือทวิสารัตถภาพอยู่แล้ว จะนิยมใช้มาตรฐาน IFRS (International Financial Reporting Standards) สำหรับอ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เป็นความเสี่ยงและโอกาสทางการเงินในรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน และใช้มาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiative) สำหรับอ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนที่เป็นผลกระทบจากการดำเนินงานของกิจการในรายงานความยั่งยืน


[Original Link]