Posts

Showing posts from November, 2024

เปิดผลสำรวจความยั่งยืนของธุรกิจไทย ปี 67

Image
นับจากที่สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ได้ริเริ่มสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2561 ขณะนั้นมีประชากรในกลุ่มสำรวจจำนวน 100 ราย และได้ทยอยเพิ่มกิจการที่ทำการสำรวจเรื่อยมาเป็นลำดับ จนในปีปัจจุบัน มีกิจการที่ได้ทำการสำรวจ อยู่จำนวน 930 ราย วัตถุประสงค์ของการสำรวจนี้ เป็นไปเพื่อต้องการประมวลพัฒนาการด้านความยั่งยืนของธุรกิจไทย สะท้อนผ่านผลสำรวจของกลุ่มกิจการที่ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนทั้งในมุมมองที่สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานสากล (GRI) การคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในบริบทของกิจการ ผลสำรวจปี 67 ครอบคลุม 930 กิจการ ในปี 2567 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลความยั่งยืนจากบริษัทจดทะเบียน 838 แห่ง กองทุนและกิจการอื่น ๆ อีก 92 ราย รวมทั้งสิ้น 930 ราย (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ทำการสำรวจ 904 ราย) พบว่า การเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีสัดส่วนมากสุดอยู่ที่ด้านสังคม 52.68% ด้านสิ่งแวดล้อม 28.70% และด้านเศรษฐกิจ 18.62% ตามลำดับ หากวิเคราะห์ข้อมู...

ไทยติดอันดับประเทศที่มีการรายงานความยั่งยืนสูงสุด

Image
เคพีเอ็มจี หนึ่งในที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้เผยแพร่ผลสำรวจการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนฉบับล่าสุด Survey of Sustainability Reporting 2024 ระบุว่า กิจการชั้นนำทั่วโลกได้มีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนในรอบการรายงานประจำปี ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อสิบสองปีที่แล้ว บริษัทที่มีรายได้สูงสุด 100 แห่งจากแต่ละประเทศที่ทำการสำรวจ มีการจัดทำรายงานความยั่งยืน คิดเป็นร้อยละ 64 มาในปีปัจจุบัน (ค.ศ.2024) บริษัทในกลุ่มดังกล่าว ที่เคพีเอ็มจีเรียกว่า บริษัทในกลุ่ม N100 ซึ่งประกอบด้วย 5,800 บริษัท จาก 58 ประเทศทั่วโลก มีการจัดทำรายงานความยั่งยืน คิดเป็นร้อยละ 79 (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี ค.ศ.2022) ขณะที่ ผลการสำรวจในกลุ่มบริษัทที่มีรายได้สูงสุด 250 แห่งในโลก จากการจัดอันดับของ Fortune 500 หรือที่เรียกว่า บริษัทในกลุ่ม G250 มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนเปิดเผยต่อสาธารณะ อยู่ในอัตราสูงถึงร้อยละ 96 ในปีปัจจุบัน (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี ค.ศ.2022) การสำรวจดังกล่าว ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1993 และทำการสำรวจอย่างต่อเนื่องเป็นประจำในทุกๆ 2 ปี โดยในปัจจุบัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มี...

เวที COP 29 ไฟเขียวรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอน

Image
เมื่อวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2567 ได้มีการจัดประชุม COP 29 หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน COP หรือ Conference of Parties เป็นการประชุมประจำปีเพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือ และกำหนดทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก โดยหนึ่งในความคืบหน้าสำคัญในการประชุมครั้งนี้ (ณ วันที่เผยแพร่บทความ) ได้แก่ การรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอนที่เป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลงปารีส ในข้อ 6 ย่อหน้า 4 (Article 6.4) ด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกที่เห็นชอบโดยองค์กรกำกับดูแล (Supervisory Body) ที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐภาคีความตกลงปารีส (CMA) จะเปิดโอกาสให้เกิดการไหลเวียนของเงินทุนไปยังผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ภายใต้ความตกลงปารีส ลงได้ราว 2.5 แสนล้านเหรียญต่อปี ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอแนะเรื่องกลไกตลาดคาร์บอนที่จัดทำโดยองค์กรกำกับดูแล ไม่ได้ถูกรับรอง (Adopt) จากที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปาร...

15 บริษัทใน SET50 ต้องเปิดข้อมูล Biodiversity ภายในปี 2573

Image
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 ได้มีการจัดประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 (Sixteenth meeting of the Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity : CBD COP 16) ณ เมืองซานเตียโก เด กาลิ สาธารณรัฐโคลอมเบีย CBD มีการจัดประชุมสมัชชาภาคี หรือ Conference of the Parties : COP เป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อกำหนดทิศทางและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประชาคมโลก รวมทั้งเสนอแนวทางต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนประเทศภาคีจำนวน 196 ประเทศ ให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ สืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM-GBF) เพื่อเป็นกรอบให้ภาคีนำไปจัดทำเป้าหมายชาติ (National Targets) และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ (National Biodiversity Strategies and Action Plans: NBSAP) เลขาธิการสหประชาชาต...