Posts

Showing posts from August, 2024

การเปิดเผยข้อมูลผลกระทบความยั่งยืน

Image
ผลกระทบความยั่งยืน (Sustainability Impacts) ตามความเข้าใจของผู้ที่ทำงานในสาขาวิชาชีพด้านความยั่งยืน ประกอบด้วย ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางสังคม และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางเศรษฐกิจ มุ่งหมายถึง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และในระดับโลก โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจผ่านทางวิธีปฏิบัติในการแข่งขัน วิธีปฏิบัติในการจัดหา ภาษีและเงินจ่ายแก่รัฐ เป็นต้น ผลกระทบทางสังคม มุ่งหมายถึง ผลกระทบที่มีต่อปัจเจกและกลุ่มคนที่รวมกันเป็นชุมชน กลุ่มเปราะบาง หรือสังคม ฯลฯ รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสิทธิมนุษยชนของผู้คนในสังคม โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อผู้คนผ่านทางวิธีปฏิบัติในการจ้างงาน (เช่น ค่าจ้างที่จ่ายแก่พนักงาน) ทางสายอุปทาน (เช่น เงื่อนไขสภาพการทำงานของคนงานของผู้ส่งมอบ) ทางผลิตภัณฑ์และบริการ (เช่น ความปลอดภัยและการเข้าถึงได้) เป็นต้น ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มุ่งหมายถึง ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งอากาศ แผ่นดิน น้ำ และระบบนิเวศ โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านทางการใช้พลังงาน การใช้ที่ดิน การใช้น้ำ และการใช้ทรัพยาก...

วาระ ESG : วาระของ ‘กรรมการพิชาน’

Image
ในความเป็นบริษัทที่มีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีการระดมทุนจากประชาชน บทบาทของเจ้าของเงิน บริษัท และฝ่ายจัดการ มักแยกออกจากกัน เจ้าของเงินหรือผู้ถือหุ้นมิได้เป็นผู้บริหารกิจการโดยตรง แต่มีการแต่งตั้งกรรมการเป็นผู้แทนเพื่อบริหารบริษัทในรูป ‘คณะกรรมการ’ (Board of Directors) ซึ่งส่วนใหญ่ คณะกรรมการก็มิได้จัดการบริษัทเอง แต่มอบหมายให้ ‘ฝ่ายจัดการ’ (Management) ทำหน้าที่บริหารจัดการบริษัทอีกต่อหนึ่ง คณะกรรมการในฐานะผู้แทนของผู้ถือหุ้น จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการ บริหารกิจการให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหุ้น (ซึ่งเป็นเจ้าของเงิน) ให้สมกับความเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ (Fiduciary Duty) ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ในสภาพการณ์ปัจจุบันที่ปัจจัยความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้กลายมาเป็นวาระหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียเพียงเพื่อให้กิจการมีความยั่งยืนในระยะยาวนั้น ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการอีกต่อไป หน้าที่ของกรรมการในการกำกับดูแลกิจการที่ส่ง...

กรรมการพิชาน : บทบาทใหม่ด้านความยั่งยืน

Image
ข้อแถลงผลกระทบ (Impact Statement) ที่จัดทำขึ้น สามารถใช้เป็น ‘สารจากกรรมการ’ ที่บรรจุไว้ในรายงานแห่งความยั่งยืน เพื่อแถลงถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการพิชานประจำปี เพิ่มเติมจากที่กิจการมี Income Statement ไว้สื่อสารกับผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน คำว่า พิชาน ตามพจนานุกรม แปลว่า ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า กรรมการพิชาน ในที่นี้ มุ่งหมายถึง ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้สมกับความเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ (Fiduciary Duty) ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น โดยมีความตระหนักรู้ในผลกระทบด้านความยั่งยืน (Sustainability Impacts) ที่มีต่อตัวกิจการและที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการอย่างรอบด้าน คุณลักษณะเด่นของกรรมการพิชาน คือ สามารถที่จะประเมินผลกระทบด้านความยั่งยืนในสองทาง ทั้งผลกระทบที่มีต่อตัวกิจการเอง (Outside-in) ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ และผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรที่มีต่อโลกภายนอก (Inside-out) ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ผลจากการประเมินดังกล่าว จะทำให้ได้มาซึ่งประเด็นสาระสำคัญ 2 ชุด ที่เรียก...