การพัฒนาความยั่งยืนจาก 'องค์กร' สู่ 'องค์รวม'
การวางเส้นทางความยั่งยืนขององค์กร เป็นการเดินทางใน ‘โลกคู่ผสม’ ที่ความยั่งยืนของกิจการกับความยั่งยืนของส่วนรวม สามารถขับเคลื่อนสอดประสานไปด้วยกัน
เวลาที่เราพูดเรื่องความยั่งยืนในบริบทของการทำธุรกิจ ประเด็นที่มักถกเถียงกันโดยไม่มีข้อยุติ คือ การดำเนินธุรกิจควรเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของใคร จะเป็นความยั่งยืนของกิจการ หรือความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
คำตอบแรกในใจของผู้บริหาร เชื่อว่า ความยั่งยืนของกิจการต้องมาก่อน ส่วนความยั่งยืนอื่นใด จะพิจารณาเป็นลำดับถัดไป ซึ่งมักจะตรงข้ามกับสิ่งที่ผู้บริหารแถลงกับสาธารณะ ในทางที่สร้างภาพลักษณ์ว่า กิจการที่ตนดูแลประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของส่วนรวม ก่อนความยั่งยืนของกิจการ
แน่นอนว่า หากผู้บริหารยึดประโยชน์โดยใช้เกณฑ์วัดที่เป็นผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น กรณีแรกนี้ การดำเนินงานจะมุ่งที่ความยั่งยืนของกิจการเป็นหลัก แต่หากผู้บริหารใช้เกณฑ์วัดที่เป็นผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย กรณีหลังนี้ การดำเนินงานจะมุ่งที่ความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
ที่ผ่านมา การดำเนินงานหรือการตัดสินใจทางธุรกิจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักต้องเลือกระหว่างผลตอบแทนหรือผลกระทบ ทำให้เส้นทางความยั่งยืนที่องค์กรวางไว้ จึงเป็นเหมือนการเดินทางใน ‘โลกคู่ขนาน’ ที่ความยั่งยืนของกิจการ กับความยั่งยืนของส่วนรวม ไม่อาจมาบรรจบกันได้
ความพยายามที่จะให้ธุรกิจดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืนในทั้งสองทาง ได้มาถึงจุดที่มีการพัฒนาเครื่องมือหนึ่ง ที่เรียกว่า การประเมินทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นประเด็นความยั่งยืนทั้งในแง่ที่เป็นผลกระทบ (Impacts) ความเสี่ยง (Risks) และโอกาส (Opportunities) รวมเรียกว่า ชุดประเด็น IROs ที่สำคัญกับกิจการ
ตั้งต้นจากการพิจารณาการดำเนินงานของกิจการที่มีผลกระทบสู่ภายนอก (Inside-out) เช่น ประเด็นมลอากาศ ของเสีย หรือความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดทำกลยุทธ์องค์กร การปรับปรุงตัวแบบทางธุรกิจ รวมทั้งการตัดสินใจของฝ่ายจัดการ (และในการลงทุน) ตลอดจนใช้ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านการรายงานความยั่งยืน
ถัดมาเป็นการพิจารณาผลกระทบภายนอกที่มีต่อตัวกิจการ (Outside-in) เช่น ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภูมิรัฐศาสตร์ หรือเงินเฟ้อ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการระบุความเสี่ยงและโอกาสต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ สำหรับวางแผนจัดการความเสี่ยง หรือแผนพัฒนาธุรกิจใหม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดจากกิจการในแบบ Inside-out ซึ่งมีนัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการดำเนินงานของฝ่ายจัดการโดยคำนึงถึงผลกระทบเหล่านั้น อาจส่งผลย้อนกลับหรือถูกยกขึ้นเป็นความเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญในแบบ Outside-in ได้ด้วย
โดยความเกี่ยวโยงระหว่างการดำเนินงานของกิจการที่มีผลกระทบสู่ภายนอก กับความเสี่ยงและโอกาสที่มีต่อตัวกิจการ ในตัวอย่างประเด็นมลอากาศ ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะช่วยลดความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอาจช่วยเพิ่มโอกาสทางรายได้ใหม่จากการพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต
ในตัวอย่างประเด็นของเสีย ได้แก่ การนำของเสียมาแปรสภาพใช้ใหม่ มาใช้ผลิตใหม่ หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือในตัวอย่างประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น กรณีการระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ เป็นความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานที่มีผลกระทบสูงต่อระบบนิเวศ ซึ่งสามารถย้อนกลับมาเป็นภาระรับผิดชอบที่กิจการต้องดำเนินการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น การประเมินทวิสารัตถภาพ โดยมีจุดตั้งต้นจากการวิเคราะห์ผลกระทบความยั่งยืน (Sustainability Impact) เพื่อให้ได้มาซึ่งชุดประเด็น IROs ที่สำคัญกับกิจการ จึงมีความจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ในทั้งสองทาง
และจะทำให้การวางเส้นทางความยั่งยืนขององค์กร เป็นการเดินทางใน ‘โลกคู่ผสม’ ที่ความยั่งยืนของกิจการกับความยั่งยืนของส่วนรวม สามารถขับเคลื่อนสอดประสานไปด้วยกัน ภายใต้ชุดประเด็น IROs ที่กิจการคัดเลือกมาดำเนินการ ด้วยเห็นว่ามีความเกี่ยวเนื่อง มีนัยสำคัญสูง สอดคล้องกับบริบทความยั่งยืนขององค์กร และที่สำคัญ สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างรอบด้าน
สถาบันไทยพัฒน์ องค์กรที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปูพื้นความเข้าใจเรื่องทวิสารัตถภาพ จึงได้พัฒนา Double Materiality Course ที่สอดคล้องกับแนวทางการนำไปปฏิบัติตามมาตรฐาน ESRS ขึ้น โดยองค์กรที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ thaipat.org
[Original Link]
คำตอบแรกในใจของผู้บริหาร เชื่อว่า ความยั่งยืนของกิจการต้องมาก่อน ส่วนความยั่งยืนอื่นใด จะพิจารณาเป็นลำดับถัดไป ซึ่งมักจะตรงข้ามกับสิ่งที่ผู้บริหารแถลงกับสาธารณะ ในทางที่สร้างภาพลักษณ์ว่า กิจการที่ตนดูแลประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของส่วนรวม ก่อนความยั่งยืนของกิจการ
แน่นอนว่า หากผู้บริหารยึดประโยชน์โดยใช้เกณฑ์วัดที่เป็นผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น กรณีแรกนี้ การดำเนินงานจะมุ่งที่ความยั่งยืนของกิจการเป็นหลัก แต่หากผู้บริหารใช้เกณฑ์วัดที่เป็นผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย กรณีหลังนี้ การดำเนินงานจะมุ่งที่ความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
ที่ผ่านมา การดำเนินงานหรือการตัดสินใจทางธุรกิจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักต้องเลือกระหว่างผลตอบแทนหรือผลกระทบ ทำให้เส้นทางความยั่งยืนที่องค์กรวางไว้ จึงเป็นเหมือนการเดินทางใน ‘โลกคู่ขนาน’ ที่ความยั่งยืนของกิจการ กับความยั่งยืนของส่วนรวม ไม่อาจมาบรรจบกันได้
ความพยายามที่จะให้ธุรกิจดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืนในทั้งสองทาง ได้มาถึงจุดที่มีการพัฒนาเครื่องมือหนึ่ง ที่เรียกว่า การประเมินทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นประเด็นความยั่งยืนทั้งในแง่ที่เป็นผลกระทบ (Impacts) ความเสี่ยง (Risks) และโอกาส (Opportunities) รวมเรียกว่า ชุดประเด็น IROs ที่สำคัญกับกิจการ
ตั้งต้นจากการพิจารณาการดำเนินงานของกิจการที่มีผลกระทบสู่ภายนอก (Inside-out) เช่น ประเด็นมลอากาศ ของเสีย หรือความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดทำกลยุทธ์องค์กร การปรับปรุงตัวแบบทางธุรกิจ รวมทั้งการตัดสินใจของฝ่ายจัดการ (และในการลงทุน) ตลอดจนใช้ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านการรายงานความยั่งยืน
ถัดมาเป็นการพิจารณาผลกระทบภายนอกที่มีต่อตัวกิจการ (Outside-in) เช่น ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภูมิรัฐศาสตร์ หรือเงินเฟ้อ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการระบุความเสี่ยงและโอกาสต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ สำหรับวางแผนจัดการความเสี่ยง หรือแผนพัฒนาธุรกิจใหม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดจากกิจการในแบบ Inside-out ซึ่งมีนัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการดำเนินงานของฝ่ายจัดการโดยคำนึงถึงผลกระทบเหล่านั้น อาจส่งผลย้อนกลับหรือถูกยกขึ้นเป็นความเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญในแบบ Outside-in ได้ด้วย
โดยความเกี่ยวโยงระหว่างการดำเนินงานของกิจการที่มีผลกระทบสู่ภายนอก กับความเสี่ยงและโอกาสที่มีต่อตัวกิจการ ในตัวอย่างประเด็นมลอากาศ ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะช่วยลดความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอาจช่วยเพิ่มโอกาสทางรายได้ใหม่จากการพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต
ในตัวอย่างประเด็นของเสีย ได้แก่ การนำของเสียมาแปรสภาพใช้ใหม่ มาใช้ผลิตใหม่ หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือในตัวอย่างประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น กรณีการระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ เป็นความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานที่มีผลกระทบสูงต่อระบบนิเวศ ซึ่งสามารถย้อนกลับมาเป็นภาระรับผิดชอบที่กิจการต้องดำเนินการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น การประเมินทวิสารัตถภาพ โดยมีจุดตั้งต้นจากการวิเคราะห์ผลกระทบความยั่งยืน (Sustainability Impact) เพื่อให้ได้มาซึ่งชุดประเด็น IROs ที่สำคัญกับกิจการ จึงมีความจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ในทั้งสองทาง
และจะทำให้การวางเส้นทางความยั่งยืนขององค์กร เป็นการเดินทางใน ‘โลกคู่ผสม’ ที่ความยั่งยืนของกิจการกับความยั่งยืนของส่วนรวม สามารถขับเคลื่อนสอดประสานไปด้วยกัน ภายใต้ชุดประเด็น IROs ที่กิจการคัดเลือกมาดำเนินการ ด้วยเห็นว่ามีความเกี่ยวเนื่อง มีนัยสำคัญสูง สอดคล้องกับบริบทความยั่งยืนขององค์กร และที่สำคัญ สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างรอบด้าน
สถาบันไทยพัฒน์ องค์กรที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปูพื้นความเข้าใจเรื่องทวิสารัตถภาพ จึงได้พัฒนา Double Materiality Course ที่สอดคล้องกับแนวทางการนำไปปฏิบัติตามมาตรฐาน ESRS ขึ้น โดยองค์กรที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ thaipat.org
[Original Link]