Posts

Showing posts from June, 2024

AI กับการรายงานข้อมูลความยั่งยืน

Image
กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแวดวงความยั่งยืน เป็นหนึ่งในประเด็นร้อนแรงที่องค์กรในภาคเอกชนต่างเริ่มเห็นความสำคัญและจำเป็นต้องพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับเตรียมพร้อมปรับตัวเพื่อรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น S&P Global คาดการณ์ว่า ภาคธุรกิจจะยกระดับการวัดและจัดการประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ปริมาณการใช้พลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นข้อบังคับในบางประเทศ ขณะที่การประเมินผลกระทบในห่วงโซ่คุณค่ามีความซับซ้อน ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีระเบียบวิธีที่โปร่งใสและการรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ ประเด็นเรื่องการพึ่งพิงเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้ไปเพิ่มแรงกดดันที่ต้องมีระบบกำกับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อเป็นหลักประกันในการจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงต่อการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์ จากแนวโน้มที่ภาคธุรกิจเริ่มจับตาการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในรอบล่าสุด สิ่งที่ทั้งภาคธุรกิจรวมถึงภาครัฐต่างต้องเผชิญในระยะเวลาอันใกล้นี้ คือ แรงกดดันที่จะต้องทำให้แน่ใจว่าได้มีการกำกับดูแลอย่างเข้...

เทคโนโลยี ในฐานะปัจจัยคู่ของความยั่งยืน

Image
เทคโนโลยี ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น ใช้ในอุตสาหกรรม ในบริบทความยั่งยืนระดับองค์กร เทคโนโลยีมีบทบาทที่เป็นได้ทั้งปัจจัยความยั่งยืนโดยตัวเอง และเป็นปัจจัยที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ จึงเรียกว่าเป็นปัจจัยคู่ของความยั่งยืน หรือ Twin Factor of Sustainability เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นปัจจัยความยั่งยืนในตัวเอง หมายถึง การได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี จะมีผลกระทบทางตรงต่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม ที่สามารถคำนวณเป็นฟุตพรินต์ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ฟุตพรินต์ปริมาณการใช้น้ำ หรือฟุตพรินต์ปริมาณการใช้พลาสติก ฯลฯ โดยองค์กรสามารถใช้ประเมินและจัดระดับว่าเป็น เทคโนโลยีที่มีความยั่งยืน (Technology as Sustainability) มากน้อยเพียงใด ข้อมูลตัวอย่างจากกระทรวงพลังงานสหรัฐ ระบุว่า ศูนย์ข้อมูล (Data Center) มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากถึง 10-50 เท่าของการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้สอยเมื่อเทียบกับอาคารพาณิชย์ทั่วไป ขณะที่การใช้น้ำในการระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูล พบว่า ปริมาณการใช้น้ำสำหรับศูนย์ข้อมูลของกูเกิล ที่เปิดเผยเมื่อปลาย...

ทำเนียบบริษัทกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567

Image
ปัจจุบัน กิจการที่หวังจะให้การดำเนินธุรกิจของตนได้รับการยอมรับจากสังคม และมีหลักทรัพย์ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุน หนีไม่พ้นที่จะต้องได้รับการประเมินเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) จากหน่วยงานประเมินภายนอกที่มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นกลางในการประเมิน ปลอดจากการแทรกแซงโดยกิจการที่ถูกประเมิน จากผลการสำรวจหน่วยงานผู้ประเมินและจัดระดับด้าน ESG ทั่วโลก พบว่า มีอยู่มากกว่า 600 แห่ง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของตลาด ( SustainAbility , 2020) โดยที่แต่ละสำนักผู้ประเมิน ต่างก็มีระเบียบวิธีและเกณฑ์ที่ใช้ประเมินแตกต่างกัน จึงมีความหลากหลายในผลประเมินที่ทั้งองค์กรผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ถูกประเมิน และผู้ลงทุน รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ จะนำไปใช้ประโยชน์จากผลประเมินที่ได้รับ จากผลสำรวจของ Institutional Shareholder Services ที่เผยแพร่ผ่านเอกสาร ESG Corporate Rating Survey เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ระบุว่า ผู้ลงทุนใช้ประโยชน์จากการประเมิน ESG ของกิจการ สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ การใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงด้าน ESG (83%) การใช้เพื่อจัดทำรายงาน (79%) แล...