ESG Premium
ที่มา | หลักการ | ระเบียบวิธี |
ด้วยเหตุที่การประเมิน ESG แทบทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อให้คะแนนและจัดระดับตามระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้น ซึ่งมีการให้น้ำหนักคะแนนที่มีความเอนเอียงตามการออกแบบระบบประเมิน หรือต้องอาศัยดุลพินิจของผู้ที่ทำการประเมินและมีโอกาสเบี่ยงเบนไปตามความรู้สึก (Subjective) ของผู้ประเมิน
เพื่อช่วยลดข้อจำกัดของระเบียบวิธีที่ใช้ประเมิน และความเบี่ยงเบนในผลการประเมิน การพัฒนาระบบประเมิน ESG โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) เสริมการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินโดยตรงตามที่ปรากฏ จะให้ผลลัพธ์เดียวกันตามวัตถุประสงค์ (Objective) โดยไม่มีโอกาสผันแปร แม้จะเปลี่ยนผู้ที่ทำการประเมิน
ในการคำนวณ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ค่า ESG Premium ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัย ESG ในรูปของตัวเลขทางการเงินระหว่างกิจการที่ไปลงทุนได้
ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 6% และบริษัท B มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 4% หมายความว่า ในมูลค่าการลงทุน 100 บาท บริษัท A และบริษัท B มีส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG อยู่จำนวน 6 บาท และ 4 บาทตามลำดับ ทำให้ผู้ลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ยั่งยืน สามารถใช้ตัวเลข ESG Premium พิจารณาเลือกลงทุนในหุ้น A มากกว่าหุ้น B เนื่องจากผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่สะท้อนในผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท A มีมูลค่าที่สูงกว่าบริษัท B
เครื่องมือ ESG Premium ที่สถาบันไทยพัฒน์พัฒนาขึ้น มุ่งตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (อาทิ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองอีทีเอฟ กองทรัสต์) ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรา 9 ในข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR*) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับให้ต้องเปิดเผยในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2023 (สำหรับรอบบัญชีปี ค.ศ. 2022) เป็นต้นมา
--------------------------------------
* Sustainable Finance Disclosures Regulation
เพื่อช่วยลดข้อจำกัดของระเบียบวิธีที่ใช้ประเมิน และความเบี่ยงเบนในผลการประเมิน การพัฒนาระบบประเมิน ESG โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) เสริมการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินโดยตรงตามที่ปรากฏ จะให้ผลลัพธ์เดียวกันตามวัตถุประสงค์ (Objective) โดยไม่มีโอกาสผันแปร แม้จะเปลี่ยนผู้ที่ทำการประเมิน
ในการคำนวณ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ค่า ESG Premium ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัย ESG ในรูปของตัวเลขทางการเงินระหว่างกิจการที่ไปลงทุนได้
ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 6% และบริษัท B มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 4% หมายความว่า ในมูลค่าการลงทุน 100 บาท บริษัท A และบริษัท B มีส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG อยู่จำนวน 6 บาท และ 4 บาทตามลำดับ ทำให้ผู้ลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ยั่งยืน สามารถใช้ตัวเลข ESG Premium พิจารณาเลือกลงทุนในหุ้น A มากกว่าหุ้น B เนื่องจากผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่สะท้อนในผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท A มีมูลค่าที่สูงกว่าบริษัท B
เครื่องมือ ESG Premium ที่สถาบันไทยพัฒน์พัฒนาขึ้น มุ่งตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (อาทิ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองอีทีเอฟ กองทรัสต์) ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรา 9 ในข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR*) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับให้ต้องเปิดเผยในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2023 (สำหรับรอบบัญชีปี ค.ศ. 2022) เป็นต้นมา
--------------------------------------
* Sustainable Finance Disclosures Regulation