ESG Premium
ที่มา | หลักการ | ระเบียบวิธี |
ปัจจุบัน การประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG Rating ของกิจการ ได้กลายเป็นชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ลงทุน นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ในการใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน
ในรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ที่จัดทำโดย SustainAbility Institute ระบุว่า แหล่งข้อมูล ESG จำนวน 6 แหล่ง ที่นิยมใช้ในการตัดสินใจลงทุน เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2018/19 กับ ค.ศ. 2022 มีแหล่งข้อมูลเดียว คือ In-house Research ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 41% เป็น 53% ขณะที่การใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นอีก 5 แหล่ง มีอัตราลดลงทั้งหมด
สาเหตุหลักเนื่องมาจากแต่ละสำนักประเมินต่างก็มีระเบียบวิธีที่ใช้ประเมินเป็นของตนเอง ทำให้ผลประเมินที่ได้ มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้มีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลโดยกิจการผ่านทางรายงานแห่งความยั่งยืนก็มีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ทำให้ผู้ลงทุนสถาบันไว้วางใจในผลการจัดระดับ (Ratings) และการจัดอันดับ (Rankings) โดยสำนักประเมิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูล (Disclosures) โดยกิจการ ลดน้อยถอยลง
จึงเป็นที่มาว่า ผู้ลงทุนเริ่มหันมาพึ่งพาแหล่งข้อมูลภายในจาก In-house Research ในอัตราที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยการตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 เพื่อจัดทำชุดข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่อิงกับมาตรฐานสากล และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ได้พัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ขึ้น สำหรับใช้วัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการในเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อเป็นข้อมูลในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ที่จัดทำโดย SustainAbility Institute ระบุว่า แหล่งข้อมูล ESG จำนวน 6 แหล่ง ที่นิยมใช้ในการตัดสินใจลงทุน เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2018/19 กับ ค.ศ. 2022 มีแหล่งข้อมูลเดียว คือ In-house Research ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 41% เป็น 53% ขณะที่การใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นอีก 5 แหล่ง มีอัตราลดลงทั้งหมด
สาเหตุหลักเนื่องมาจากแต่ละสำนักประเมินต่างก็มีระเบียบวิธีที่ใช้ประเมินเป็นของตนเอง ทำให้ผลประเมินที่ได้ มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้มีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลโดยกิจการผ่านทางรายงานแห่งความยั่งยืนก็มีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ทำให้ผู้ลงทุนสถาบันไว้วางใจในผลการจัดระดับ (Ratings) และการจัดอันดับ (Rankings) โดยสำนักประเมิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูล (Disclosures) โดยกิจการ ลดน้อยถอยลง
จึงเป็นที่มาว่า ผู้ลงทุนเริ่มหันมาพึ่งพาแหล่งข้อมูลภายในจาก In-house Research ในอัตราที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยการตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 เพื่อจัดทำชุดข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่อิงกับมาตรฐานสากล และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ได้พัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ขึ้น สำหรับใช้วัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการในเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อเป็นข้อมูลในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ