Posts

Showing posts from February, 2024

มาตรวัดความยั่งยืน: จาก ESG Rating สู่ ESG Premium

Image
พัฒนาการของการประเมิน ESG ได้ยกระดับไปอีกขั้น จากเครื่องมือ ESG Rating หรือการจัดระดับความยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มาสู่การใช้เครื่องมือ ESG Premium ปัจจุบัน การประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) หรือ ESG Rating ของกิจการ ได้กลายเป็นชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ลงทุน นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ในการใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน ในรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ที่จัดทำโดย SustainAbility Institute ระบุว่า แหล่งข้อมูล ESG จำนวน 6 แหล่ง ที่นิยมใช้ในการตัดสินใจลงทุน เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2018/19 กับ ค.ศ. 2022 มีแหล่งข้อมูลเดียว คือ In-house Research ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 41% เป็น 53% ขณะที่การใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นอีก 5 แหล่ง มีอัตราลดลงทั้งหมด สาเหตุหลักเนื่องมาจากแต่ละสำนักประเมินต่างก็มีระเบียบวิธีที่ใช้ประเมินเป็นของตนเอง ทำให้ผลประเมินที่ได้ มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้มีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลโดยกิจการผ่านทางรายงานแห่งความยั่งยืนก็มีความน่าเชื...

ไทยพัฒน์ เปิดเครื่องมือ ESG Premium

มิติใหม่แห่งการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ 19 กุมภาพันธ์ 2567 – สถาบันไทยพัฒน์ ผู้บุกเบิกการประเมินและจัดระดับความยั่งยืนของกิจการในประเทศไทย เปิดตัว ESG Premium เครื่องมือวัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ด้วยการประเมินส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยการตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่อจัดทำชุดข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่อิงกับมาตรฐานสากล และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้พัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ขึ้น สำหรับใช้วัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการในเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อเป็นข้อมูลในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือ ESG Premium ที่พัฒนาขึ้น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้ ประกอบด้วย ยอดการลงทุนสีเขียว (Green In...

ESG Premium

Image
ที่มา        หลักการ        ระเบียบวิธี เครื่องมือ ESG Premium ที่พัฒนาขึ้น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้ ประกอบด้วย ยอดการลงทุนสีเขียว (Green Investments) มูลค่าผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Value) และผลการดำเนินธุรกิจ (Business Conduct) ที่ใช้เกณฑ์อ้างอิงตามมาตรฐาน ISAR 1 ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้ ประกอบด้วย ตัววัดด้าน ESG จำนวน 30 รายการ ที่เป็นไปตาม WFE 2 ESG Metrics ซึ่งสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลกแนะนำให้ใช้ชุดตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นข้อมูลฐาน (Baseline) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ให้แก่ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ถือเป็นมิติใหม่แห่งการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ในการเปรียบเทียบว่าหลักทรัพย์ตัวใดในพอร์ตการลงทุน ที่ให้ Premium จากปัจจัย ESG ได้สูงกว่าหรือต่ำกว่าหลักทรัพย์ตัวอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนระหว่างหลักทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ต ตามวัตถุประสงค์การลงทุนท...

ESG Premium

Image
ที่มา        หลักการ        ระเบียบวิธี ด้วยเหตุที่การประเมิน ESG แทบทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อให้คะแนนและจัดระดับตามระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้น ซึ่งมีการให้น้ำหนักคะแนนที่มีความเอนเอียงตามการออกแบบระบบประเมิน หรือต้องอาศัยดุลพินิจของผู้ที่ทำการประเมินและมีโอกาสเบี่ยงเบนไปตามความรู้สึก (Subjective) ของผู้ประเมิน เพื่อช่วยลดข้อจำกัดของระเบียบวิธีที่ใช้ประเมิน และความเบี่ยงเบนในผลการประเมิน การพัฒนาระบบประเมิน ESG โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) เสริมการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินโดยตรงตามที่ปรากฏ จะให้ผลลัพธ์เดียวกันตามวัตถุประสงค์ (Objective) โดยไม่มีโอกาสผันแปร แม้จะเปลี่ยนผู้ที่ทำการประเมิน ในการคำนวณ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนขอ...

ESG Premium

Image
ที่มา        หลักการ        ระเบียบวิธี ปัจจุบัน การประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG Rating ของกิจการ ได้กลายเป็นชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ลงทุน นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ในการใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน ในรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ที่จัดทำโดย SustainAbility Institute ระบุว่า แหล่งข้อมูล ESG จำนวน 6 แหล่ง ที่นิยมใช้ในการตัดสินใจลงทุน เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2018/19 กับ ค.ศ. 2022 มีแหล่งข้อมูลเดียว คือ In-house Research ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 41% เป็น 53% ขณะที่การใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นอีก 5 แหล่ง มีอัตราลดลงทั้งหมด สาเหตุหลักเนื่องมาจากแต่ละสำนักประเมินต่างก็มีระเบียบวิธีที่ใช้ประเมินเป็นของตนเอง ทำให้ผลประเมินที่ได้ มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้มีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลโดยกิจการผ่านทางรายงานแห่งความยั่งยืนก็มีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ทำให้ผู้ลงทุนสถาบันไว้วางใจในผลการจัดระดับ (Ratings) และการจัดอันดับ (Rankings) โดยสำนักปร...

เหรียญ 2 ด้านของความยั่งยืน

Image
ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีกิจการอยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก จะต่างทยอยปรับมาตรฐานและแนวทางด้านความยั่งยืนในประเทศของตน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค เพื่อให้สามารถค้าขายและส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ ปัจจุบัน เราได้ยินภาคเอกชนออกมาสื่อสารกันอย่างแข็งขันว่า องค์กรของตนมุ่งมั่นและดำเนินกิจการโดยยึดโยงเรื่องความยั่งยืนเป็นที่ตั้ง มีการพูดถึงและบรรจุเรื่องความยั่งยืนไว้ทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน กลยุทธ์ และตัววัดในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในรูปแบบเฉพาะเจาะจงที่เรียกกันว่า รายงานแห่งความยั่งยืน ซึ่งมีการจัดทำเป็นรายปี เหมือนกับรายงานประจำปี สิ่งที่เป็นคำถามซึ่งดังขึ้นเรื่อย ๆ ไม่แพ้กับกระแสนิยมเรื่องความยั่งยืน คือ ธุรกิจส่วนใหญ่ที่นำเรื่องความยั่งยืนมาดำเนินการนั้น มุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืนของใคร เป็นความยั่งยืนในส่วนตัวกิจการเอง หรือเป็นความยั่งยืนของส่วนรวม ไม่ปฏิเสธว่า องค์กรธุรกิจย่อมต้องพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่ตอบสนองต่อความยั่งยืนของกิจการและความยั่งยืนของส่วนรวมควบคู่ไปพร้อมกัน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาต่อ คือ การ...