Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

มาตรวัดความยั่งยืน: จาก ESG Rating สู่ ESG Premium


พัฒนาการของการประเมิน ESG ได้ยกระดับไปอีกขั้น จากเครื่องมือ ESG Rating หรือการจัดระดับความยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มาสู่การใช้เครื่องมือ ESG Premium

ปัจจุบัน การประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) หรือ ESG Rating ของกิจการ ได้กลายเป็นชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ลงทุน นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ในการใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน

ในรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ที่จัดทำโดย SustainAbility Institute ระบุว่า แหล่งข้อมูล ESG จำนวน 6 แหล่ง ที่นิยมใช้ในการตัดสินใจลงทุน เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2018/19 กับ ค.ศ. 2022 มีแหล่งข้อมูลเดียว คือ In-house Research ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 41% เป็น 53% ขณะที่การใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นอีก 5 แหล่ง มีอัตราลดลงทั้งหมด

สาเหตุหลักเนื่องมาจากแต่ละสำนักประเมินต่างก็มีระเบียบวิธีที่ใช้ประเมินเป็นของตนเอง ทำให้ผลประเมินที่ได้ มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้มีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลโดยกิจการผ่านทางรายงานแห่งความยั่งยืนก็มีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ทำให้ผู้ลงทุนสถาบันไว้วางใจในผลการจัดระดับ (Ratings) และการจัดอันดับ (Rankings) โดยสำนักประเมิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูล (Disclosures) โดยกิจการ ลดน้อยถอยลง

จึงเป็นที่มาว่า ผู้ลงทุนเริ่มหันมาพึ่งพาแหล่งข้อมูลภายในจาก In-house Research ในอัตราที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ และได้จัดตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่อทำการประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้พัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ขึ้น สำหรับวัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการในเชิงปริมาณ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ตามเป้าหมายการลงทุนอย่างยั่งยืนที่ต้องการบรรลุ

ในการคำนวณ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ค่า ESG Premium ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัย ESG ในรูปของตัวเลขทางการเงินระหว่างกิจการที่ไปลงทุนได้

ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 6% และบริษัท B มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 4% หมายความว่า ในมูลค่าการลงทุน 100 บาท บริษัท A และบริษัท B มีส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG อยู่จำนวน 6 บาท และ 4 บาทตามลำดับ ทำให้ผู้ลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ยั่งยืน สามารถใช้ตัวเลข ESG Premium พิจารณาเลือกลงทุนในหุ้น A มากกว่าหุ้น B เนื่องจากผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่สะท้อนในผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท A มีมูลค่าที่สูงกว่าบริษัท B

การพัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ถือเป็นมิติใหม่แห่งการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ในการเปรียบเทียบว่าหลักทรัพย์ตัวใดในพอร์ตการลงทุน ที่ให้ Premium จากปัจจัย ESG ได้สูงกว่าหรือต่ำกว่าหลักทรัพย์ตัวอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนระหว่างหลักทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ต ตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนได้อย่างตรงจุด

บริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีการดูแลบริหารกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน สามารถนำเครื่องมือ ESG Premium ไปใช้เป็นตัวช่วยในการติดตามตรวจสอบการลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนสอดคล้องกับหลักการด้านความยั่งยืนตามที่สากลยอมรับ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ให้ภาพเชิงลึกกว่าการอ้างอิงดัชนีชี้วัดที่มีองค์ประกอบเป็นหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

ทั้งนี้ เครื่องมือ ESG Premium ที่ถูกพัฒนาขึ้น ยังมุ่งตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (อาทิ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองอีทีเอฟ กองทรัสต์) ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรา 9 ในข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับให้ต้องเปิดเผยในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2023 (สำหรับรอบบัญชีปี ค.ศ. 2022) เป็นต้นมา

พัฒนาการของการประเมิน ESG ได้ยกระดับไปอีกขั้น จากเครื่องมือ ESG Rating หรือการจัดระดับความยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มาสู่การใช้เครื่องมือ ESG Premium หรือการคำนวณมูลค่าความยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่เสริมการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เพื่อเพิ่มมิติข้อมูลแก่ผู้ลงทุนที่ใช้ปัจจัยด้าน ESG สำหรับประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม


[Original Link]



ไทยพัฒน์ เปิดเครื่องมือ ESG Premium

มิติใหม่แห่งการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ

19 กุมภาพันธ์ 2567 – สถาบันไทยพัฒน์ ผู้บุกเบิกการประเมินและจัดระดับความยั่งยืนของกิจการในประเทศไทย เปิดตัว ESG Premium เครื่องมือวัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ด้วยการประเมินส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยการตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 เพื่อจัดทำชุดข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่อิงกับมาตรฐานสากล และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้พัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ขึ้น สำหรับใช้วัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการในเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อเป็นข้อมูลในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องมือ ESG Premium ที่พัฒนาขึ้น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้ ประกอบด้วย ยอดการลงทุนสีเขียว (Green Investments) มูลค่าผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Value) และผลการดำเนินธุรกิจ (Business Conduct) ที่ใช้เกณฑ์อ้างอิงตามมาตรฐาน ISAR1 ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้ ประกอบด้วย ตัววัดด้าน ESG จำนวน 30 รายการ ที่เป็นไปตาม WFE2 ESG Metrics ซึ่งสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลกแนะนำให้ใช้ชุดตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นข้อมูลฐาน (Baseline) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ให้แก่ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

ในการคำนวณ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ค่า ESG Premium ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัย ESG ในรูปของตัวเลขทางการเงินระหว่างกิจการที่ไปลงทุนได้

ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 6% และบริษัท B มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 4% หมายความว่า ในมูลค่าการลงทุน 100 บาท บริษัท A และบริษัท B มีส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG อยู่จำนวน 6 บาท และ 4 บาทตามลำดับ ทำให้ผู้ลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ยั่งยืน สามารถใช้ตัวเลข ESG Premium พิจารณาเลือกลงทุนในหุ้น A มากกว่าหุ้น B เนื่องจากผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่สะท้อนในผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท A มีมูลค่าที่สูงกว่าบริษัท B

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “การพัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ถือเป็นมิติใหม่แห่งการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ในการเปรียบเทียบว่าหลักทรัพย์ตัวใดในพอร์ตการลงทุน ที่ให้ Premium จากปัจจัย ESG ได้สูงกว่าหรือต่ำกว่าหลักทรัพย์ตัวอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนระหว่างหลักทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ต ตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนได้อย่างตรงจุด

นอกจากนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีการดูแลบริหารกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน สามารถนำเครื่องมือ ESG Premium ไปใช้ในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและตอบสนองต่อเป้าหมายที่กองทุนรวมต้องการบรรลุ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์เชิงบวกจากการลงทุน ทั้งผลจากการบริหารจัดการลงทุนอย่างยั่งยืน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อมโดยรวม”


เครื่องมือ ESG Premium ที่สถาบันไทยพัฒน์พัฒนาขึ้น ยังมุ่งตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (อาทิ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองอีทีเอฟ กองทรัสต์) ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรา 9 ในข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR)3 ของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับให้ต้องเปิดเผยในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2023 (สำหรับรอบบัญชีปี ค.ศ. 2022) เป็นต้นมา

บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ องค์กรของรัฐ สมาคม และสถาบันอื่น ๆ ที่ต้องมีการบริหารจัดการลงทุนอย่างยั่งยืน และสนใจในเครื่องมือ ESG Premium สามารถติดต่อเพื่อทดลองใช้งานได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ในการนี้ สถาบันไทยพัฒน์จะจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “ESG Premium: Care to Earn” ในวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ภายใต้งานแถลงทิศทาง “ESG in 2024 and Beyond: Who Cares Earns” ให้แก่องค์กรที่สนใจ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางติดต่อของสถาบันไทยพัฒน์



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันไทยพัฒน์: คุณปิยเลขา ไหล่แท้
LINE ID: @thaipat
อีเมล: info@thaipat.org



--------------------------------------
1 International Standards of Accounting and Reporting
2 World Federation of Exchanges
3 Sustainable Finance Disclosures Regulation



[ข่าวประชาสัมพันธ์]



ESG Premium

ที่มา      หลักการ      ระเบียบวิธี

เครื่องมือ ESG Premium ที่พัฒนาขึ้น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้ ประกอบด้วย ยอดการลงทุนสีเขียว (Green Investments) มูลค่าผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Value) และผลการดำเนินธุรกิจ (Business Conduct) ที่ใช้เกณฑ์อ้างอิงตามมาตรฐาน ISAR1

ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้ ประกอบด้วย ตัววัดด้าน ESG จำนวน 30 รายการ ที่เป็นไปตาม WFE2 ESG Metrics ซึ่งสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลกแนะนำให้ใช้ชุดตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นข้อมูลฐาน (Baseline) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ให้แก่ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ถือเป็นมิติใหม่แห่งการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ในการเปรียบเทียบว่าหลักทรัพย์ตัวใดในพอร์ตการลงทุน ที่ให้ Premium จากปัจจัย ESG ได้สูงกว่าหรือต่ำกว่าหลักทรัพย์ตัวอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถปรับสัดส่วนและน้ำหนักการลงทุนระหว่างหลักทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ต ตามวัตถุประสงค์การลงทุนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนได้อย่างตรงจุด

นอกจากนี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมที่มีการดูแลบริหารกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน สามารถนำเครื่องมือ ESG Premium ไปใช้ในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและตอบสนองต่อเป้าหมายที่กองทุนรวมต้องการบรรลุ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์เชิงบวกจากการลงทุน ทั้งผลจากการบริหารจัดการลงทุนอย่างยั่งยืน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อมโดยรวม

บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ องค์กรของรัฐ สมาคม และสถาบันอื่น ๆ ที่ต้องมีการบริหารจัดการลงทุนอย่างยั่งยืน และสนใจในเครื่องมือ ESG Premium สามารถติดต่อเพื่อทดลองใช้งานได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



--------------------------------------
1 International Standards of Accounting and Reporting
2 World Federation of Exchanges



ESG Premium

ที่มา      หลักการ      ระเบียบวิธี

ด้วยเหตุที่การประเมิน ESG แทบทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อให้คะแนนและจัดระดับตามระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้น ซึ่งมีการให้น้ำหนักคะแนนที่มีความเอนเอียงตามการออกแบบระบบประเมิน หรือต้องอาศัยดุลพินิจของผู้ที่ทำการประเมินและมีโอกาสเบี่ยงเบนไปตามความรู้สึก (Subjective) ของผู้ประเมิน

เพื่อช่วยลดข้อจำกัดของระเบียบวิธีที่ใช้ประเมิน และความเบี่ยงเบนในผลการประเมิน การพัฒนาระบบประเมิน ESG โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) เสริมการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงินโดยตรงตามที่ปรากฏ จะให้ผลลัพธ์เดียวกันตามวัตถุประสงค์ (Objective) โดยไม่มีโอกาสผันแปร แม้จะเปลี่ยนผู้ที่ทำการประเมิน

ในการคำนวณ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ค่า ESG Premium ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดจากปัจจัย ESG ในรูปของตัวเลขทางการเงินระหว่างกิจการที่ไปลงทุนได้

ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 6% และบริษัท B มีตัวเลข ESG Premium อยู่ที่ 4% หมายความว่า ในมูลค่าการลงทุน 100 บาท บริษัท A และบริษัท B มีส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG อยู่จำนวน 6 บาท และ 4 บาทตามลำดับ ทำให้ผู้ลงทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ยั่งยืน สามารถใช้ตัวเลข ESG Premium พิจารณาเลือกลงทุนในหุ้น A มากกว่าหุ้น B เนื่องจากผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่สะท้อนในผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท A มีมูลค่าที่สูงกว่าบริษัท B

เครื่องมือ ESG Premium ที่สถาบันไทยพัฒน์พัฒนาขึ้น มุ่งตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (อาทิ กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองอีทีเอฟ กองทรัสต์) ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรา 9 ในข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR*) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับให้ต้องเปิดเผยในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2023 (สำหรับรอบบัญชีปี ค.ศ. 2022) เป็นต้นมา



--------------------------------------
* Sustainable Finance Disclosures Regulation



ESG Premium

ที่มา      หลักการ      ระเบียบวิธี

ปัจจุบัน การประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG Rating ของกิจการ ได้กลายเป็นชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ลงทุน นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ในการใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน

ในรายงาน Rate the Raters 2023: ESG Ratings at a Crossroads ที่จัดทำโดย SustainAbility Institute ระบุว่า แหล่งข้อมูล ESG จำนวน 6 แหล่ง ที่นิยมใช้ในการตัดสินใจลงทุน เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจระหว่างปี ค.ศ. 2018/19 กับ ค.ศ. 2022 มีแหล่งข้อมูลเดียว คือ In-house Research ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 41% เป็น 53% ขณะที่การใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นอีก 5 แหล่ง มีอัตราลดลงทั้งหมด

สาเหตุหลักเนื่องมาจากแต่ละสำนักประเมินต่างก็มีระเบียบวิธีที่ใช้ประเมินเป็นของตนเอง ทำให้ผลประเมินที่ได้ มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้มีสหสัมพันธ์ระหว่างกัน ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลโดยกิจการผ่านทางรายงานแห่งความยั่งยืนก็มีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ทำให้ผู้ลงทุนสถาบันไว้วางใจในผลการจัดระดับ (Ratings) และการจัดอันดับ (Rankings) โดยสำนักประเมิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูล (Disclosures) โดยกิจการ ลดน้อยถอยลง

จึงเป็นที่มาว่า ผู้ลงทุนเริ่มหันมาพึ่งพาแหล่งข้อมูลภายในจาก In-house Research ในอัตราที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยการตั้งหน่วยงาน ESG Rating ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 เพื่อจัดทำชุดข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่อิงกับมาตรฐานสากล และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ได้พัฒนาเครื่องมือ ESG Premium ขึ้น สำหรับใช้วัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการในเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อเป็นข้อมูลในกระบวนการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




เหรียญ 2 ด้านของความยั่งยืน


ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีกิจการอยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก จะต่างทยอยปรับมาตรฐานและแนวทางด้านความยั่งยืนในประเทศของตน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค เพื่อให้สามารถค้าขายและส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ

ปัจจุบัน เราได้ยินภาคเอกชนออกมาสื่อสารกันอย่างแข็งขันว่า องค์กรของตนมุ่งมั่นและดำเนินกิจการโดยยึดโยงเรื่องความยั่งยืนเป็นที่ตั้ง มีการพูดถึงและบรรจุเรื่องความยั่งยืนไว้ทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน กลยุทธ์ และตัววัดในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในรูปแบบเฉพาะเจาะจงที่เรียกกันว่า รายงานแห่งความยั่งยืน ซึ่งมีการจัดทำเป็นรายปี เหมือนกับรายงานประจำปี

สิ่งที่เป็นคำถามซึ่งดังขึ้นเรื่อย ๆ ไม่แพ้กับกระแสนิยมเรื่องความยั่งยืน คือ ธุรกิจส่วนใหญ่ที่นำเรื่องความยั่งยืนมาดำเนินการนั้น มุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืนของใคร เป็นความยั่งยืนในส่วนตัวกิจการเอง หรือเป็นความยั่งยืนของส่วนรวม

ไม่ปฏิเสธว่า องค์กรธุรกิจย่อมต้องพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่ตอบสนองต่อความยั่งยืนของกิจการและความยั่งยืนของส่วนรวมควบคู่ไปพร้อมกัน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาต่อ คือ การให้น้ำหนักความสำคัญของการดำเนินการระหว่างประเด็นความยั่งยืนของกิจการและประเด็นความยั่งยืนของส่วนรวม

เครื่องมือที่องค์กรใช้ในการพิจารณาให้น้ำหนักความสำคัญของการดำเนินการประเด็นความยั่งยืน เรียกว่า การวิเคราะห์สารัตถภาพ (Materiality Analysis) ซึ่งเป็นการค้นหาและระบุประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญที่บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการ อันถือเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน

ซึ่งหากองค์กรนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ดำเนินการ โดยมิได้สะท้อนประเด็นสาระสำคัญในทั้งสองส่วน ก็หมายความว่า การดำเนินงานขององค์กรตามที่ตั้งใจ อาจมิได้ตอบโจทย์ความยั่งยืนตามที่ควรจะเป็น

จึงเป็นที่มาของการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญในรูปแบบของ ทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) ที่ประกอบด้วย การพิจารณาที่ผนวกการวิเคราะห์สารัตถภาพทางการเงินที่เป็นผลจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (แบบ Outside-in) เข้ากับการวิเคราะห์สารัตถภาพเชิงผลกระทบที่เกิดจากองค์กรทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (แบบ Inside-out)

สารัตถภาพที่ได้ตามการวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Materiality) จะเป็นข้อมูลส่วนที่สนองความต้องการของผู้ลงทุนและผู้ถือหุ้น (Shareholders) ที่มุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืนของกิจการ ขณะที่สารัตถภาพที่ได้ตามการวิเคราะห์ผลกระทบ (Impact Materiality) จะเป็นข้อมูลส่วนที่สนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ที่มุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืนโดยรวม

การตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งในส่วนของกิจการและความยั่งยืนของส่วนรวม เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านของความยั่งยืน ที่ต้องไปด้วยกัน ไม่สามารถละทิ้งด้านใดด้านหนึ่ง หรือเพิกเฉยต่อประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญของอีกด้านหนึ่งได้

อนึ่ง หลักการทวิสารัตถภาพ หรือ Double Materiality Principle ปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในเอกสารแนวทางการรายงานข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน: ส่วนเสริมของการรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นผู้เสนอ เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019

ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาการรายงานข้อมูลทางการเงินแห่งยุโรป (EFRAG) ได้เป็นผู้จัดทำร่างข้อกำหนดการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (CSR Directive) รวมถึงหลักการทวิสารัตถภาพ ให้แก่คณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อเสนอต่อสภายุโรปให้บังคับใช้ ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับการรายงานในรอบบัญชี ปี ค.ศ. 2024 เป็นต้นไป

ทำให้บริษัทจดทะเบียนและบริษัทขนาดใหญ่ราว 50,000 แห่ง ที่เข้าเกณฑ์ของ CSR Directive ต้องเริ่มจัดทำรายงานความยั่งยืนตามหลักการทวิสารัตถภาพ และจะบังคับใช้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ตั้งแต่รอบบัญชี ปี ค.ศ. 2026 รวมทั้งสาขาของบริษัทนอกสหภาพยุโรปที่มีการดำเนินกิจการในสหภาพยุโรปซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ ตั้งแต่รอบบัญชี ปี ค.ศ. 2028 ตามลำดับ

และเป็นผลให้กิจการที่ต้องการยกระดับการรายงานความยั่งยืนให้สอดรับกับมาตรฐานสากล เนื่องจากมีการดำเนินการค้าขายหรือมีสาขากิจการอยู่ในสหภาพยุโรปซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ จะต้องริเริ่มเตรียมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนโดยมีการประเมินทวิสารัตถภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ESRS (European Sustainability Reporting Standards)

และเป็นที่คาดหมายว่า ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีกิจการอยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก จะต่างทยอยปรับมาตรฐานและแนวทางด้านความยั่งยืนในประเทศของตน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค เพื่อให้สามารถค้าขายและส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ ของตนในภูมิภาคยุโรปได้อย่างราบรื่น


[Original Link]