Posts

Showing posts from December, 2023

ข่าวประชาสัมพันธ์ (ปี 2566)

Image
ปีก่อนหน้า     ปี66     ปี67     ปีปัจจุบัน     สถาบันไทยพัฒน์ จัดงานประกาศ "รางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน" Sustainability Disclosure Award ประจำปี 2566 ให้กับองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (SDC) จำนวน 132 รางวัล ( อ่านต่อ ) • ไทยพัฒน์ มอบ 132 รางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน   สถาบันไทยพัฒน์ เปิดผลสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของ 904 กิจการ ในงาน “The State of Corporate Sustainability in 2023” พร้อมการเสวนา “Double Materiality : The Financial + Impact Disclosure” ให้แก่องค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ( อ่านต่อ ) • ข่าวประชาสัมพันธ์ • กำหนดการ • เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 2566 • เอกสารนำเสนอ ช่วง " ผลการสำรวจข้อมูลความยั่งยืนฯ ปี 2566 " • เอกสารนำเสนอ ช่วง " The State of Corporate Sustainability in 2023 " ที่มาของการสำรวจข้อมูลฯ แถลงผลสำรวจข้อมูลฯ ปี 66 เสวนาผลสำรวจ ESG ปี 66   สถาบันไทยพัฒน์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Webinar ครั้งที่ 5 สำหรับองค์กรสมาช...

กลยุทธ์ ESG ปี 2024: Chance • Choice • Change

Image
สำหรับกลยุทธ์ ESG ในปี ค.ศ. 2024 ที่สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประมวลเพื่อให้กิจการใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย Chance: หาโอกาสในมิติเศรษฐกิจ Choice: สร้างทางเลือกในมิติสังคม และ Change: เปลี่ยนแปลงในมิติสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่ที่คำว่า ESG ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2024 เพื่อสนับสนุนแนวคิดของการบูรณาการปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในตลาดทุน ซึ่งเชื่อกันว่า ไม่เพียงนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตัวตลาดทุนเอง ด้วยการทำให้ตลาดทุนมีความยั่งยืนมากขึ้น พัฒนาการของ ESG ในห้วงเวลา 20 ปี ตั้งแต่การจัดทำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ (United Nations-supported Principles for Responsible Investment: PRI) ในปี ค.ศ. 2006 มาจนถึงมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ที่มีชื่อว่า ESRS (European Sustainability Reporting Standards) ในปี ค.ศ. 2023 ที่ทำให้การเปิดเผยข้อมูล ESG ได้กลายเป็นข้อกำหนดสำหรับบริษัทที่มีถิ่นฐานในสหภาพยุโรป รวมทั้งสาขาของบริษัทนอกส...

ธีม ESG ปี 2024 : Who cares earns

Image
ทิศทาง ESG ในปี ค.ศ. 2024 จะเป็นการเดินหน้าดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับกิจการที่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบังคับ นับตั้งแต่ที่คำว่า ESG ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2004 โดยปรากฏอยู่ในเอกสารรายงานชื่อ “Who cares wins” (ผู้ใดใส่ใจ ผู้นั้นมีชัย) ที่สนับสนุนแนวคิดของการบูรณาการปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในตลาดทุน ซึ่งเชื่อกันว่า ไม่เพียงนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตัวตลาดทุนเอง ด้วยการทำให้ตลาดทุนมีความยั่งยืนมากขึ้น รายงานฉบับนี้ เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการที่ นายโคฟี อันนัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น ได้เขียนจดหมายถึงบรรดาซีอีโอของสถาบันการเงินชั้นนำ 55 แห่ง เพื่อให้ช่วยหาวิธีในการผนวกเรื่อง ESG เข้ากับตลาดทุน ฉะนั้น ต้นเรื่องของแนวคิด ESG จึงมาจากผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน โดยหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่สำคัญขณะนั้น คือ การผลักดันการผนวกเรื่อง ESG ผ่านบริษัทที่ลงทุน (Investees) ซึ่งคือ บรรดาบริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนทั่วโลก โดย...

เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 2566

Image
กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่แต่เดิม ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ได้ถูกหยิบมาใช้ในวงกว้าง ไม่เว้นในแวดวงการตลาดที่ ESG ถูกใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์อย่างแพร่หลาย จนในปัจจุบัน ถูกตีความว่า ส่วนใหญ่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing) กระทั่ง หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ต้องออกนิยามศัพท์ (Terminology) และการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่เกี่ยวกับเรื่อง ESG เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้การฟอกเขียวเกิดได้ยากขึ้น จากมาตรการดังกล่าว ทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารที่ติดป้าย ESG ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องมาในทุกปี มีมูลค่าลดลงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2022 และด้วยภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในทุกภูมิภาค มีการเติบโตที่หดตัวลง ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยจากแรงกดดันของปัจจัยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกส่วน...

การลงทุนที่ยั่งยืน เริ่มมีขนาดสินทรัพย์ลดลง

Image
Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ได้ทำการเผยแพร่รายงาน 2022 Global Sustainable Investment Review ที่จัดทำขึ้นทุกสองปี โดยจากงานสำรวจชิ้นล่าสุด พบว่า ในปี พ.ศ.2565 ตัวเลขการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก มีมูลค่าอยู่ที่ 30.3 ล้านล้านเหรียญ ลดลงจากตัวเลข 35.3 ล้านล้านเหรียญ ในปี พ.ศ.2563 หรือลดลงร้อยละ 14.1 ในช่วงเวลาสองปี โดยสัดส่วนการลงทุนที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2565 มีตัวเลขคิดเป็นร้อยละ 24.4 ของมูลค่าจำนวน 124.49 ล้านล้านเหรียญ ลดลงจากสัดส่วน ในปี พ.ศ.2563 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 35.9 แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการลงทุนที่ยั่งยืนโดยรวม มีตัวเลขลดลงเป็นครั้งแรก ปัจจัยหลักมาจากตัวเลขการลงทุนที่ยั่งยืนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งลดลงจาก 17.1 ล้านล้านเหรียญ มาอยู่ที่ 8.4 ล้านล้านเหรียญ หรือลดลงกว่าร้อยละ 50 ในช่วงเวลาสองปี สาเหตุมาจากการเปลี่ยนระเบียบวิธีการเก็บตัวเลขสินทรัพย์ที่ยั่งยืนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการปรับนิยามของกองทุนยั่งยืนที่เข้มงวดขึ้น จากความกังวลเรื่องการฟอกเขียวที่ขยายวงเพิ่มขึ้น รวมทั้งการนำเรื่อง ESG มาใช้เป็นประเด็นการเมืองท้อง...