Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

ข่าวประชาสัมพันธ์ (ปี 2566)


สถาบันไทยพัฒน์ จัดงานประกาศ "รางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน" Sustainability Disclosure Award ประจำปี 2566 ให้กับองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (SDC) จำนวน 132 รางวัล (อ่านต่อ)

ไทยพัฒน์ มอบ 132 รางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน

 


สถาบันไทยพัฒน์ เปิดผลสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของ 904 กิจการ ในงาน “The State of Corporate Sustainability in 2023” พร้อมการเสวนา “Double Materiality : The Financial + Impact Disclosure” ให้แก่องค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (อ่านต่อ)

ข่าวประชาสัมพันธ์
กำหนดการ
เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 2566
• เอกสารนำเสนอ ช่วง "ผลการสำรวจข้อมูลความยั่งยืนฯ ปี 2566"
• เอกสารนำเสนอ ช่วง "The State of Corporate Sustainability in 2023"

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Webinar ครั้งที่ 5 สำหรับองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure Community (SDC) เพื่อส่งเสริมให้องค์กรสมาชิกได้รับความรู้และข้อมูลล่าสุดของมาตรฐานการรายงานสากล GRI Standards ในหัวข้อ ESRS-GRI Mapping เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 (อ่านต่อ)

 


สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย จัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านความยั่งยืน ในรายวิชา GRI Standards Certified Training Course (ระยะเวลา 2 วัน) เมื่อวันอังคารและพุธที่ 28-29 พฤศจิกายน 2566 (ข้อมูลเพิ่มเติม)

มาตรฐาน GRI กับความเข้าใจผิดเรื่องความยั่งยืน
ไทยติดกลุ่มประเทศที่มีการเปิดเผยรายงานความยั่งยืนสูงสุด

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดให้มีงาน Thaipat Runners-up 2023 Online Forum ในหัวข้อ SDG Impact Disclosure แนวทางสำหรับรายงานการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่ตอบสนองต่อเป้าหมาย SDGs ในระดับตัวชี้วัด เพื่อประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน ในรูปแบบ Webinar (รายละเอียด)

• เอกสารนำเสนอ: Thaipat Runners-up Presentation
• ชมคลิปย้อนหลัง: Webinar: SDG Impact Disclosure
• ชุดเอกสาร: GCI for Sustainability and SDG Impact Reporting

 


"Guidance on Core Indicators for Sustainability and SDG Impact Reporting" ความหนา 56 หน้า ฉบับปรับปรุง (ค.ศ.2022) จัดทำโดยคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิระหว่างรัฐบาลด้านมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการบัญชีและการรายงาน (ISAR) สำหรับใช้เป็นเอกสารชี้แนะแนวทางในการรายงานผลการดำเนินงานของกิจการ ด้วยตัวชี้วัดที่แสดงถึงการมีส่วนในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรธุรกิจ (อ่านต่อ)

 


สถาบันไทยพัฒน์ ทำการประเมินบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) ติดอันดับ ESG100 ปี 66 และประกาศรายชื่อหลักทรัพย์กลุ่ม ESG Emerging เป็นปีที่สี่ พร้อมเปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีผลประกอบการพลิกฟื้นกลุ่ม ESG Turnaround เป็นปีแรก เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงประเด็น ESG และสามารถสร้างโอกาสการได้รับผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป (อ่านต่อ)

 


'ESG100 Company ปี 2566'
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ (ที่สามจากขวา) ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) พร้อมคณะผู้บริหาร รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สามจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กรุงเทพฯ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ (ลำดับ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท นายเอกกมล ประสพผลสุจริต (ลำดับ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน และนางสุรีย์ จันทร์สวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ (ลำดับ 1 จากซ้าย) บริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ASIAN) รับมอบประกาศนียบัตร ESG Emerging Company ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ลำดับ 3 จากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น สมุทรสาคร นายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สี่จากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ มอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ให้กับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ในฐานะเป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน โดยมี นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล (ที่ห้าจากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมรับมอบ ณ อาคาร ยูไนเต็ด เซ็นเตอร์ ถ.สีลม กรุงเทพฯ นายนิวัติ อดิเรก (ที่สามจากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหาร บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สามจากขวา) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บีซีพีจี อาคารเอ็ม ทาวเวอร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ พลตรี พัชร รัตตกุล (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ขวา) ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ ณ บมจ.หาดทิพย์ สำนักงานกรุงเทพฯ นายสุชัย วิเศษลีลา (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายวรณัฐ เพียรธรรม (ขวา) ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ นายอภิชาติ ธรรมมโนมัย (คนกลาง) ประธานกรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริหาร และนายอภิเศรษฐ ธรรมมโนมัย (ขวาสุด) กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ซ้ายสุด) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บมจ.เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ นายสมศักดิ์ บุญช่วยเรืองชัย (ที่สองจากขวา) กรรมการ และนายอนุวัฒน์ จารุกรสกุล (กลางซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดับบลิวเอชเอ เรียล เอสเตท แมเนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART) พร้อมด้วยนายวิทวัส อัจฉริยวนิช (ที่สองจากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ในฐานะทรัสตีของกองทรัสต์ฯ รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (กลางขวา) ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ อาคาร ดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ บางพลี จ.สมุทรปราการ นายศิริภัทร โกเอี้ยน (ที่สองจากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริหารบุคคลและความยั่งยืนองค์กร บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (THIP) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายวรณัฐ เพียรธรรม (ที่สองจากซ้าย) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ณ บมจ.ทานตะวันอุตสาหกรรม สำนักงานกรุงเทพฯ ถ.วิภาวดีรังสิต นายเอกรินทร์ เหลืองวิริยะ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ETC) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ขวา) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงาน เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ กรุงเทพฯ นางสาวยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์ (ที่สองจากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีลิค คอร์พ จำกัด (มหาชน) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ (ที่สองจากซ้าย) ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท ซีลิค คอร์พ จำกัด (มหาชน) เขตหนองแขม กรุงเทพฯ นายสาธิต สุดบรรทัด (ที่สองจากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) (DRT) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (คนกลาง) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ อาคารสำนักงานพหลโยธินเพลส ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ นายเคนอิจิ ยามาโตะ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  (BAY) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ขวา) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ถ.พระราม 3 กรุงเทพฯ ดร. สันติสุข โฆษิอาภานันท์ (ที่สี่จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหาร บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท จำกัด (มหาชน) (SONIC) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สี่จากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ โซนิค อินเตอร์เฟรท ถ.สาธุประดิษฐ์ กรุงเทพฯ ดร. สมบัติ กิจจาลักษณ์ (ที่สามจากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย นายวิทูรย์ หทัยรัตนา (ที่สองจากซ้าย) นางสาวปาหนัน โตสุวรรณถาวร (ที่สองจากขวา) นายอัลวิน จี (ซ้ายสุด) รองกรรมการผู้จัดการ และนางสาวณรีรัตน์ นนท์ชะสิริ (ขวาสุด) ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สามจากขวา) ประธานสถาบันไทยพัฒน์  ณ สำนักงานสาขา (2) ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ถ.พระราม 9 กรุงเทพฯ นายบัณฑิต อนันตมงคล (ที่สามจากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (คนกลาง) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เขตบางรัก กรุงเทพฯ นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนางสาวเกศนรี จองโชติศิริกุล (ขวา) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด/ควบคุมคุณภาพ และพัฒนาความยั่งยืน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) (NER) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์  ณ สำนักงานขาย นอร์ทอีส รับเบอร์ กรุงเทพฯ นายโทมัส ชาร์ลส วิลสัน (คนขวา) กรรมการผู้อำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (AYUD) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (คนซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายเสนีย์ จิตตเกษม ประธานกรรมการ (ที่ห้าจากขวา) และนายแพทย์อติรัชต์ จรูญศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ที่สี่จากซ้าย) พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) (SKR) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่ห้าจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพฯ นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ (ที่สามจากขวา) กรรมการผู้จัดการ และทีมผู้บริหาร บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สองจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ อาคารวิริยะถาวร ถ.สุทธิสารวินิจฉัย กรุงเทพฯ นายขันธ์ชัย วิจักขณะ (ที่สามจากขวา) ประธานกรรมการ และนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ที่สองจากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สามจากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ อาคาร ทีพีไอ ทาวเวอร์ สาทร กรุงเทพฯ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ที่สี่จากขวา) ประธานกรรมการ พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สี่จากซ้าย) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ สาทร กรุงเทพฯ ศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ (ที่สามจากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณพรสุดา หาญพาณิชย์ กรรมการด้านความยั่งยืน กำกับดูแลกิจการ และบริหารความเสี่ยง และรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการเงิน  (ที่สองจากซ้าย) คุณวิมลมาลย์ กฤษณะกลิน กรรมการด้านความยั่งยืน กำกับดูแลกิจการ และบริหารความเสี่ยง และรองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (ซ้ายสุด) คุณชนิกานต์ กิจสิริการ นักลงทุนสัมพันธ์อาวุโส (ขวาสุด) และคุณวรวิทย์ จิตรพัฒนากุล นักลงทุนสัมพันธ์อาวุโส (ที่สองจากขวา) บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) (BCH) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประจำปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ที่สามจากขวา)  ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) ถ.แจ้งวัฒนะ นายฉี ชิง-ฟู่ กรรมการผู้จัดการ (คนกลาง) และนายวิเชียร อมรพูนชัย กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ (ที่สองจากขวา) บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (LHFG) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ปี 2566 จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ (ที่สองจากซ้าย)  ณ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นางสุนันทา สิ่งสรรเสริญ (คนกลาง) กรรมการ และ นายขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ (ขวาสุด) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) (SA) รับมอบประกาศนียบัตร ESG100 Company ประจำปี 2566 ในฐานะบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากนายพิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ซ้ายสุด) ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ณ โรงแรม คาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท
สถาบันไทยพัฒน์ มอบประกาศนียบัตร “ESG100 Company ปี 2566” ให้แก่องค์กรที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น
ซีพี ออลล์
บีซีพีจี
หาดทิพย์
น้ำมันพืชไทย
เพรซิเดนท์ เบเกอรี่
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า WHART
ทานตะวันอุตสาหกรรม
เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์
ซีลิค คอร์พ
ผลิตภัณฑ์ตราเพชร
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โซนิค อินเตอร์เฟรท
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์
นอร์ทอีส รับเบอร์
อลิอันซ์ อยุธยา แคปปิตอล
ศิครินทร์
ซีเค พาวเวอร์
ทีพีไอ โพลีน
ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์
บางกอก เชน ฮอสปิทอล
แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป
ไซมิส แอสเสท

 


หน่วยงาน AccountAbility องค์กรผู้กำหนดมาตรฐานและให้คำปรึกษาด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ระดับโลก ที่ก่อตั้งมากว่า 30 ปี ได้ออกรายงานที่มีชื่อว่า 7 Sustainability Trends 2023 Report โดยเนื้อหาสะท้อนให้เห็นภูมิทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และการประมวลแนวโน้มที่สำคัญด้าน ESG ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดวาระทางธุรกิจนับจากนี้ไป

 


สถาบันไทยพัฒน์ จัดตั้ง ESG Sandbox เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในการสร้างระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน (Ecosystem of Sustainability) ด้วยการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความพลิกผัน (Disruption) ด้านความยั่งยืนในอนาคต (รายละเอียด)

 


สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลง ทิศทาง CSR ปี 2566: LEAN • CLEAN • GREEN และการเสวนาเรื่อง ESG Footprint: The Supplier Journey ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 (รายละเอียด)

กำหนดการ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกสารในช่วงการนำเสนอทิศทาง CSR ปี 2566
เอกสารในช่วงเสวนา ESG Footprint: The Supplier Journey
สนทนา ทิศทางความยั่งยืน ปี 2566 ทาง สวท. FM 92.5 MHz
อธิบาย เนื้อหาทิศทางความยั่งยืน ปี 2566 พร้อมสคริปต์

 


สถาบันไทยพัฒน์ ทำการประมวลทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2566 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2566: LEAN • CLEAN • GREEN’ ความหนา 28 หน้า สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจสามารถนำไปเป็นปัจจัยนำเข้า และใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยมี ESG เป็นกรอบในการขับเคลื่อนตามบริบทที่เหมาะสมของแต่ละกิจการให้มีความครอบคลุมอย่างรอบด้าน

 


3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ได้ถูกยกระดับความสำคัญขึ้นอย่างมาก จนเป็นเงื่อนไขหลักสำหรับการดำเนินธุรกิจ และได้กลายมาเป็นคำที่ใช้กันสามัญในปัจจุบัน โดยในปี 2566 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ประมวลแนวโน้มการขับเคลื่อน ESG ของภาคธุรกิจไทย ไว้เป็น 3 ธีม ได้แก่ LEAN รับมือเศรษฐกิจโลกถดถอย CLEAN เพื่อสังคมที่มีสุขภาวะ และ GREEN ที่มากกว่าคำมั่นสัญญา (อ่านต่อ)

จะขับเคลื่อน ESG แบบ ‘ห่วงเรา’ หรือ ‘ห่วงโลก’

 


สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2565 จัดทำเป็นรายงานชื่อว่า “The State of Corporate Sustainability in 2022" เพื่อนำเสนอทิศทางและกระแสนิยมของการเปิดเผยข้อมูล ESG ขององค์กร รวมถึงการวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ โดยสำรวจจากองค์กรที่มีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ทั้งสิ้น 854 ราย (อ่านต่อ)


เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 65

 






กลยุทธ์ ESG ปี 2024: Chance • Choice • Change


สำหรับกลยุทธ์ ESG ในปี ค.ศ. 2024 ที่สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประมวลเพื่อให้กิจการใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย Chance: หาโอกาสในมิติเศรษฐกิจ Choice: สร้างทางเลือกในมิติสังคม และ Change: เปลี่ยนแปลงในมิติสิ่งแวดล้อม


นับตั้งแต่ที่คำว่า ESG ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2024 เพื่อสนับสนุนแนวคิดของการบูรณาการปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในตลาดทุน ซึ่งเชื่อกันว่า ไม่เพียงนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตัวตลาดทุนเอง ด้วยการทำให้ตลาดทุนมีความยั่งยืนมากขึ้น

พัฒนาการของ ESG ในห้วงเวลา 20 ปี ตั้งแต่การจัดทำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ (United Nations-supported Principles for Responsible Investment: PRI) ในปี ค.ศ. 2006 มาจนถึงมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ที่มีชื่อว่า ESRS (European Sustainability Reporting Standards) ในปี ค.ศ. 2023 ที่ทำให้การเปิดเผยข้อมูล ESG ได้กลายเป็นข้อกำหนดสำหรับบริษัทที่มีถิ่นฐานในสหภาพยุโรป รวมทั้งสาขาของบริษัทนอกสหภาพยุโรปที่มีการดำเนินกิจการในสหภาพยุโรปซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ด้วย

เนื่องจาก ESG ถูกริเริ่มขึ้นจากภาคตลาดทุน หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการดำเนินงาน ESG ของกิจการ จะต้องมีความเชื่อมโยงกับผลประกอบการ และสะท้อนอยู่ในผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ จากมุมมองเดิมต่อเรื่อง ESG ที่กิจการส่วนใหญ่ เห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการความเสี่ยง มาสู่การใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจสำหรับรองรับโอกาสที่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่หลายกิจการเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ทั้งการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) จากการใช้ประโยชน์ในประเด็นด้าน ESG ที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการ

ทิศทาง ESG ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยนับจากนี้ จะเป็นการเดินหน้าดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับกิจการที่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบังคับ ซึ่งเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดี ก็จะเกิดความเชื่อมั่น และผลักดันการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นผลกระทบที่ดีทั้งกับกิจการและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนที่ยั่งยืน

สำหรับกลยุทธ์ ESG ในปี ค.ศ. 2024 ที่สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประมวลเพื่อให้กิจการใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย

Chance: หาโอกาสในมิติเศรษฐกิจ
จากความอ่อนไหวด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศต่างขั้วมีแนวโน้มที่จะขยายวง ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยจากแรงกดดันของปัจจัยเงินเฟ้อในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในทุกภูมิภาคมีการเติบโตที่หดตัวลง และทำให้ต้นทุนทางการเงินในการประกอบธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น การปรับตัวและเตรียมความพร้อมในปี ค.ศ. 2024 กิจการควรค้นหาโอกาสทางธุรกิจจากปัจจัย ESG ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและความสามารถในการทำกำไร นอกเหนือจากการมอง ESG ว่าเป็นเรื่องของการจัดการความเสี่ยงหรือผลกระทบด้านเดียว

ตัวอย่างของการพลิกทุนทางธรรมชาติให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการอนุรักษ์ระบบนิเวศพร้อมกับการลงทุนทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดโอกาสในการสร้างกำไรและการจ้างงาน เช่น การเกษตรแบบเจริญทดแทน (Regenerative Agriculture) เป็นการดำเนินธุรกิจการเกษตรที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้ำ การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศ การสนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การขนส่ง การจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการกำจัดของเสีย

Choice: สร้างทางเลือกในมิติสังคม
เรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่ปิดกั้น เป็นประเด็น ESG ด้านสังคมในอันดับต้น ๆ ที่หลายฝ่ายได้ให้น้ำหนักความสำคัญ ทั้งการบรรจุไว้เป็นนโยบายของกิจการ และการใช้เป็นมาตรการในการรับสมัครคัดเลือกบุคลากร ขณะที่หลายกิจการ ไม่เพียงแต่ดำเนินการในองค์กรของตน แต่ยังขยายครอบคลุมไปถึงผู้ส่งมอบในห่วงโซ่อุปทาน ด้วยมาตรการจัดหาวัตถุดิบหรือวัสดุใช้สอยจากคนในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งในฝั่งอุปสงค์ซึ่งเป็นส่วนตลาดที่ยังมิได้รับการตอบสนอง (Unserved) หรือที่ยังตอบสนองได้ไม่เต็มที่ (Underserved) เพื่อให้เกิดทางเลือกแก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ฯลฯ การปรับตัวและเตรียมความพร้อมในปี ค.ศ. 2024 กิจการควรสร้างทางเลือกด้านบุคลากร โดยนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติด้านแรงงาน และเชื่อมโยงให้เกิดเป็นคุณค่าต่อผู้บริโภคจากการดำเนินการดังกล่าว

ตัวอย่างการสร้างทางเลือกในตัวกิจการ เช่น การส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ การจ้างแรงงานผู้พ้นโทษ (ทั้งสองกรณี สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด) ตัวอย่างการสร้างทางเลือกในฝั่งอุปทาน เช่น การจัดซื้อวัสดุใช้สอยในธุรกิจ เพื่อสนับสนุนสินค้าและบริการที่ชุมชนผลิตและจำหน่าย อาทิ ของว่างสำหรับการประชุมหรือเลี้ยงรับรองแขก ข้าวสารหรืออาหารที่จัดหาเป็นสวัสดิการแก่พนักงาน บริการต้นไม้ให้เช่าสำหรับวางประดับในอาคารและพื้นที่สำนักงาน งานตัดเย็บเครื่องแบบพนักงาน ฯลฯ ตัวอย่างการสร้างทางเลือกในฝั่งอุปสงค์ เช่น การพัฒนาสินค้าเพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการจำหน่ายแก่ผู้มีรายได้น้อย การออกแบบบริการด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่ช่วยลดการเดินทางและเวลาไปโรงพยาบาล ฯลฯ

Change: เปลี่ยนแปลงในมิติสิ่งแวดล้อม
เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ การใช้ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และประเด็นมลภาวะที่เกิดจากการประกอบการ เป็นประเด็น ESG ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทุก ๆ กิจการจำเป็นต้องคำนึงถึงทั้งในแง่ของการบรรเทา (Mitigation) การปรับตัว (Adaptation) รวมทั้งการเยียวยาชดเชยความสูญเสียและความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับผลกระทบที่เกิดจากการประกอบการขององค์กร การปรับตัวและเตรียมความพร้อมในปี ค.ศ. 2024 กิจการจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด โดยการใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน การลดปริมาณการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติหรือใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำของเสียมาแปรสภาพใช้ใหม่ (Recycle) หรือใช้ผลิตใหม่ (Remanufacture) หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นต้น

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการพลังงาน ได้แก่ การลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล อาทิ การติดโซลาร์เซลล์ หรือการเปลี่ยนพาหนะขนส่งเป็นรถ EV ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการวัตถุดิบ ได้แก่ การนำแนวคิด Carbon Negative หรือการทำให้กระบวนการผลิตมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นลบมาใช้ในธุรกิจ อาทิ บริษัทอินเตอร์เฟซ ผู้นำระดับโลกด้านการออกแบบ ผลิต และจำหน่ายพรมแผ่น มีการปรับสายการผลิตแผ่นรองพรมที่สามารถกักเก็บคาร์บอนจนทำให้ได้พรมแผ่นชนิดแรกในโลกที่เป็น Carbon Negative เมื่อวัดค่าการปลดปล่อยในขอบเขต Cradle-to-Gate ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการของเสีย ได้แก่ การนำกากของเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของทรัพยากรใหม่หรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน (Waste of Energy) อาทิ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม มีการใช้ประโยชน์จากทะลายเปล่าและเส้นใยปาล์มเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน และเหลือขายเป็นพลังงานไฟฟ้าให้แก่ภายนอก

เส้นทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนด้วยกลยุทธ์ Chance • Choice • Change ในบริบทของ ESG ข้างต้น จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถวางแนวทางการขับเคลื่อนที่สอดรับกับสถานการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปี ค.ศ. 2024 และเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า


[Original Link]



ธีม ESG ปี 2024 : Who cares earns


ทิศทาง ESG ในปี ค.ศ. 2024 จะเป็นการเดินหน้าดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับกิจการที่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบังคับ


นับตั้งแต่ที่คำว่า ESG ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2004 โดยปรากฏอยู่ในเอกสารรายงานชื่อ “Who cares wins” (ผู้ใดใส่ใจ ผู้นั้นมีชัย) ที่สนับสนุนแนวคิดของการบูรณาการปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในตลาดทุน ซึ่งเชื่อกันว่า ไม่เพียงนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตัวตลาดทุนเอง ด้วยการทำให้ตลาดทุนมีความยั่งยืนมากขึ้น

รายงานฉบับนี้ เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการที่ นายโคฟี อันนัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น ได้เขียนจดหมายถึงบรรดาซีอีโอของสถาบันการเงินชั้นนำ 55 แห่ง เพื่อให้ช่วยหาวิธีในการผนวกเรื่อง ESG เข้ากับตลาดทุน ฉะนั้น ต้นเรื่องของแนวคิด ESG จึงมาจากผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน

โดยหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่สำคัญขณะนั้น คือ การผลักดันการผนวกเรื่อง ESG ผ่านบริษัทที่ลงทุน (Investees) ซึ่งคือ บรรดาบริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนทั่วโลก โดยหากบริษัทที่ลงทุนไม่สนใจหรือไม่ขานรับเรื่อง ESG ไปดำเนินการ ผู้ลงทุนอาจจะมีมาตรการในระดับขั้นที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การลดน้ำหนักการลงทุน การลดการถือครอง ไปจนถึงการขายหลักทรัพย์ออกจากพอร์ตการลงทุน

จึงเป็นเหตุให้บริษัทจดทะเบียน ขยับตัวรับเรื่อง ESG มาดำเนินการ และต่อมาได้นำเอา ESG มาเป็นคำที่ใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง นอกเหนือจากที่ใช้สื่อสารกับผู้ลงทุนที่เป็นต้นเรื่อง

พัฒนาการของ ESG ในห้วงเวลา 20 ปี ตั้งแต่การจัดทำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบโดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ (United Nations-supported Principles for Responsible Investment: PRI) ในปี ค.ศ. 2006 มาจนถึงมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ที่มีชื่อว่า ESRS (European Sustainability Reporting Standards) ในปี ค.ศ. 2023 ที่ทำให้การเปิดเผยข้อมูล ESG ได้กลายเป็นข้อกำหนดสำหรับบริษัทที่มีถิ่นฐานในสหภาพยุโรป รวมทั้งสาขาของบริษัทนอกสหภาพยุโรปที่มีการดำเนินกิจการในสหภาพยุโรปซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ด้วย

นอกจากหลักการและมาตรฐานที่เป็นเรื่อง ESG โดยตรง ประเทศต่าง ๆ ยังมีการออกกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ESG ในทางใดทางหนึ่ง อาทิ กลไกการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป ซึ่งนำร่องกับสินค้า 6 กลุ่ม ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า และไฮโดรเจน โดยต้องเริ่มแจ้งปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตสินค้าที่นำเข้า นับจากปี ค.ศ. 2023 และจะต้องสำแดงใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้านั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2026 หรือการออกข้อบังคับว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) ซึ่งจะใช้กับโภคภัณฑ์ในกลุ่มปศุสัตว์ ไม้ โกโก้ ถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม กาแฟ ยางพารา และผลิตภัณฑ์สืบเนื่อง เช่น เครื่องหนัง ช็อกโกแลต ยางรถยนต์ หรือเครื่องเรือน โดยจะมีผลตั้งแต่สิ้นปี ค.ศ. 2024 เป็นต้น

ในประเทศไทย คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ได้ออกประกาศให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูล ESG ในแบบแสดงรายการข้อมูล 56-1 One Report จัดส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2022 เป็นต้นมา

เนื่องจาก ESG ถูกริเริ่มขึ้นจากภาคตลาดทุน หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการดำเนินงาน ESG ของกิจการ จะต้องมีความเชื่อมโยงกับผลประกอบการ และสะท้อนอยู่ในผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ

จากมุมมองเดิมต่อเรื่อง ESG ที่กิจการส่วนใหญ่ เห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการความเสี่ยง มาสู่การใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจสำหรับรองรับโอกาสที่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่หลายกิจการเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ทั้งการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) จากการใช้ประโยชน์ในประเด็นด้าน ESG ที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการ

ทิศทาง ESG ในปี ค.ศ. 2024 จะเป็นการเดินหน้าดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับกิจการที่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบังคับ ซึ่งเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดี ก็จะเกิดความเชื่อมั่น และผลักดันการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นผลกระทบที่ดีทั้งกับกิจการและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนที่ยั่งยืน ในลักษณะ “Who cares earns” (ยิ่งใส่ใจ ยิ่งได้รับ)

นั่นหมายถึง กิจการที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ย่อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในหลายระดับ คือ ในระดับแรก สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ‘ได้รับ’ ประโยชน์จากการที่ธุรกิจใส่ใจดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประกอบการ ในระดับต่อมา กิจการจะมีโอกาส ‘ได้รับ’ รายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ประเด็น ESG สร้างการเติบโตและเพิ่มผลิตภาพ และในระดับท้ายสุด ผู้ลงทุนควรจะ ‘ได้รับ’ ผลตอบแทนทั้งกำไรจากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (Capital Gain) และเงินปันผลที่สูงขึ้นจากการลงทุนในกิจการที่ ‘ใส่ใจ’ เรื่อง ESG

ต้องติดตามกันว่า ในปี ค.ศ. 2024 จะมีกิจการใดที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง แล้วทำให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับประโยชน์จากกิจการ และผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนได้มากน้อยเพียงใด


[Original Link]



เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 2566


กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่แต่เดิม ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ได้ถูกหยิบมาใช้ในวงกว้าง ไม่เว้นในแวดวงการตลาดที่ ESG ถูกใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์อย่างแพร่หลาย จนในปัจจุบัน ถูกตีความว่า ส่วนใหญ่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing)

กระทั่ง หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ต้องออกนิยามศัพท์ (Terminology) และการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่เกี่ยวกับเรื่อง ESG เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้การฟอกเขียวเกิดได้ยากขึ้น

จากมาตรการดังกล่าว ทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารที่ติดป้าย ESG ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องมาในทุกปี มีมูลค่าลดลงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2022

และด้วยภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในทุกภูมิภาค มีการเติบโตที่หดตัวลง ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยจากแรงกดดันของปัจจัยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ที่มีผลตอบแทนลดลง ทำให้ความแตกต่างในเชิงผลตอบแทนระหว่างหุ้นกลุ่ม ESG กับหุ้นโดยทั่วไป มิได้สร้างแรงจูงใจผู้ลงทุนได้เหมือนในช่วงตลาดขาขึ้น

จากการสำรวจของ GSIA สัดส่วนของมูลค่าการลงทุนที่ยั่งยืน มีตัวเลขคิดเป็นร้อยละ 24.4 ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารทั้งหมด ที่จำนวน 124.49 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด (ณ สิ้นปี 2565) ลดลงจากร้อยละ 35.9 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด (ณ สิ้นปี 2563)

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ได้ทำการสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ เพื่อนำเสนอทิศทางและกระแสนิยมของการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนขององค์กร ทั้งในมุมมอง GRI, ESG และ SDG โดยริเริ่มสำรวจเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ครอบคลุมกิจการจำนวน 100 แห่ง และได้ดำเนินการเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ผลสำรวจปี 66 ครอบคลุม 904 องค์กร
ในปี 2566 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลความยั่งยืนจากบริษัทจดทะเบียน 805 แห่ง กองทุนและองค์กรอื่นๆ อีก 99 ราย รวมทั้งสิ้น 904 ราย (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ทำการสำรวจ 854 ราย) พบว่า การเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีสัดส่วนมากสุดอยู่ที่ด้านสังคม 52.25% ด้านเศรษฐกิจ 24.33% และด้านสิ่งแวดล้อม 23.41% ตามลำดับ

หากวิเคราะห์ข้อมูลกิจการที่สำรวจ จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กิจการที่ได้คะแนนการดำเนินงาน ESG รวมสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ กิจการในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (4.91 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10) รองลงมาเป็นกิจการในกลุ่มเทคโนโลยี (4.60 คะแนน) และกิจการในกลุ่มบริการ (4.05 คะแนน) ตามลำดับ

ESG Performance by Industry Group

สำหรับประเด็นความยั่งยืนที่มีการเปิดเผยสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ ผลเชิงเศรษฐกิจ 96.46% การฝึกอบรมและการให้ความรู้ 48.12% ความหลากหลายและโอกาสแห่งความเท่าเทียม 48.01% ส่วนการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่ 8 เศรษฐกิจและการจ้างงาน และเป้าหมายที่ 16 สังคมและความยุติธรรม ตามลำดับ

ไฮไลต์ผลสำรวจ ESG ที่น่าสนใจ
ในการประเมินสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของกิจการที่ทำการสำรวจทั้งหมด 904 ราย พบว่า ในปี 2566 มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.53 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วและปีก่อนหน้าที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.46 คะแนน (ปี 2565 จากการสำรวจ 854 ราย) และ 2.2 คะแนน (ปี 2564 จากการสำรวจ 826 ราย)

เมื่อพิจารณาผลสำรวจโดยใช้ประเด็นความยั่งยืนที่อ้างอิงจากมาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiative) พบว่ามีเพียง 2.32% ที่มีการรายงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และมากถึง 66.37% ที่ไม่มีการเปิดเผยประเด็นมลอากาศ (Emissions) นอกจากนี้ ยังพบว่ามีไม่ถึง 9% ที่เปิดเผยเรื่องการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้ส่งมอบ (Supplier Environmental / Social Assessment)

ขณะที่การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัจจัย ESG ที่อ้างอิงตามแนวทางและชุดตัวชี้วัดของ WFE (World Federation of Exchanges) จากผลสำรวจพบว่า มีประเด็นที่เข้าใหม่ในสิบอันดับแรกที่กิจการเปิดเผย ได้แก่ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (50%) และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (49.23%) ส่วนประเด็นที่เคยอยู่ในสิบอันดับเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่อยู่ในปีนี้ ได้แก่ ประเด็นด้านแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก

และเมื่อสำรวจข้อมูลการดำเนินงานที่มีการตอบสนองต่อ SDGs ตามแนวทาง GCI (Guidance on Core Indicators) ที่จัดทำโดย ISAR (International Standards of Accounting and Reporting) พบว่า มีประเด็นที่เข้าใหม่ในสิบอันดับแรกที่กิจการเปิดเผย ได้แก่ สัดส่วนหญิงในตำแหน่งจัดการ (91.15%) และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (53.32%) ส่วนประเด็นที่เคยอยู่ในสิบอันดับเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่อยู่ในปีนี้ ได้แก่ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ และชั่วโมงเฉลี่ยการฝึกอบรมต่อปีต่อคน

ข้อมูลผลสำรวจข้างต้น สถาบันไทยพัฒน์จะจัดงานแถลง “ผลสำรวจข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทไทย ปี 2566” และการเสวนา “Double Materiality: The Financial + Impact Disclosure” โดยจะมีการเผยแพร่เนื้อหาการสำรวจทางเว็บไซต์ของสถาบันไทยพัฒน์ต่อไป


[Original Link]



การลงทุนที่ยั่งยืน เริ่มมีขนาดสินทรัพย์ลดลง


Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ได้ทำการเผยแพร่รายงาน 2022 Global Sustainable Investment Review ที่จัดทำขึ้นทุกสองปี โดยจากงานสำรวจชิ้นล่าสุด พบว่า ในปี พ.ศ.2565 ตัวเลขการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก มีมูลค่าอยู่ที่ 30.3 ล้านล้านเหรียญ ลดลงจากตัวเลข 35.3 ล้านล้านเหรียญ ในปี พ.ศ.2563 หรือลดลงร้อยละ 14.1 ในช่วงเวลาสองปี

โดยสัดส่วนการลงทุนที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2565 มีตัวเลขคิดเป็นร้อยละ 24.4 ของมูลค่าจำนวน 124.49 ล้านล้านเหรียญ ลดลงจากสัดส่วน ในปี พ.ศ.2563 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 35.9 แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการลงทุนที่ยั่งยืนโดยรวม มีตัวเลขลดลงเป็นครั้งแรก

ปัจจัยหลักมาจากตัวเลขการลงทุนที่ยั่งยืนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งลดลงจาก 17.1 ล้านล้านเหรียญ มาอยู่ที่ 8.4 ล้านล้านเหรียญ หรือลดลงกว่าร้อยละ 50 ในช่วงเวลาสองปี สาเหตุมาจากการเปลี่ยนระเบียบวิธีการเก็บตัวเลขสินทรัพย์ที่ยั่งยืนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการปรับนิยามของกองทุนยั่งยืนที่เข้มงวดขึ้น จากความกังวลเรื่องการฟอกเขียวที่ขยายวงเพิ่มขึ้น รวมทั้งการนำเรื่อง ESG มาใช้เป็นประเด็นการเมืองท้องถิ่นในสหรัฐฯ

ซึ่งหากไม่นับรวมตัวเลขสินทรัพย์ที่ยั่งยืนในสหรัฐอเมริกา สัดส่วนการลงทุนที่ยั่งยืน (ยกเว้นสหรัฐ) ในปี พ.ศ.2565 จะมีตัวเลขคิดเป็นร้อยละ 37.9 เทียบกับ AUM ทั้งหมด ซึ่งยังเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2563 ขณะที่มูลค่าการลงทุนที่ยั่งยืนรวม (ยกเว้นสหรัฐ) ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในช่วงเวลาสองปี

ทั้งนี้ สัดส่วนเม็ดเงินลงทุนตามกลยุทธ์การลงทุนที่ยั่งยืน 7 รูปแบบตามการจำแนกของ GSIA พบว่า การลงทุนเพื่อใช้สิทธิผู้ถือหุ้นออกเสียงในกิจการ (Corporate engagement and shareholder action) มีมูลค่ามากสุด อยู่ที่ 8.05 ล้านล้านเหรียญ รองลงมาเป็นการลงทุนโดยผนวกเกณฑ์ด้าน ESG ในกระบวนการตัดสินใจลงทุน (ESG integration) อยู่ที่ 5.59 ล้านล้านเหรียญ การลงทุนโดยใช้เกณฑ์คัดกรองด้านลบ / ตัดออกจากกลุ่ม (Negative/exclusionary screening) อยู่ที่ 3.84 ล้านล้านเหรียญ การลงทุนโดยใช้เกณฑ์คัดกรองที่เป็นบรรทัดฐานนิยม (Norms-based screening) อยู่ที่ 1.81 ล้านล้านเหรียญ การลงทุนตามประเด็นความยั่งยืนที่สนใจ (Sustainability themed investing) อยู่ที่ 5.98 แสนล้านเหรียญ การลงทุนโดยใช้เกณฑ์คัดกรองด้านบวก / เลือกที่ดีสุดในกลุ่ม (Positive/best-in-class screening) อยู่ที่ 5.74 แสนล้านเหรียญ และการลงทุนเพื่อชุมชน / เป็นผลดีต่อโลก (Impact/community investing) อยู่ที่ 5.5 หมื่นล้านเหรียญ ตามลำดับ

ขณะที่ข้อมูลกองทุนยั่งยืนจากการเปิดเผยของมอร์นิ่งสตาร์ ระบุว่า กองทุนยั่งยืนในสหรัฐฯ มีเงินไหลออกสี่ไตรมาสติดต่อกัน โดยมีเงินไหลออกสุทธิจำนวน 1.42 หมื่นล้านเหรียญในรอบปีที่ผ่านมา

สินทรัพย์ในกองทุนยั่งยืนลดลงกลับไปแตะระดับ 2.99 แสนล้านเหรียญ ณ สิ้นสุดไตรมาสที่สาม และลดลงสูงถึงร้อยละ 17 จากระดับสูงสุดที่ 3.58 แสนล้านเหรียญ ณ สิ้นสุดปี ค.ศ.2021

และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่การปิดกองทุนยั่งยืนมีมากกว่าการเปิดกองใหม่ โดยในไตรมาสสามของปีนี้ มีการเปิดตัวกองทุนยั่งยืนเพียง 3 กองทุน แต่มีการปิดกองทุนยั่งยืน 13 กองทุน และมีอีก 4 กองทุนได้ยกเลิกการลงทุนแบบ ESG ทำให้มีจำนวนกองทุนยั่งยืนในสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 661 กองทุน

โดยจาก 13 กองทุนยั่งยืนที่ปิดลงในไตรมาสที่สาม กองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (ตามมูลค่าสินทรัพย์) ได้แก่ กองทุนจากบริษัท Columbia Threadneedle, Hartford และ BlackRock โดย Columbia Threadneedle ปิด Columbia U.S. Social Bond Fund เมื่อเดือนสิงหาคม มีทรัพย์สินรวม 35.8 ล้านเหรียญ และอยู่ในตลาดถึง 8 ปี ตามด้วย Hartford Schroders ESG US Equity ETF ที่มีมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญในเดือนกรกฎาคม หลังจากอยู่ในตลาดประมาณ 2 ปี ส่วน BlackRock ได้ปิดกองทุน BlackRock U.S. Impact Fund และ BlackRock International Impact Fund ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 5.4 ล้านเหรียญ และ 4.2 ล้านเหรียญ ตามลำดับ

จะเห็นว่า ภาพรวมของการลงทุนที่ยั่งยืนได้มาถึงจุดอิ่มตัว และในบางภูมิภาค เริ่มมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารที่ลดลง จากที่เคยกล่าวไว้เมื่อสองปีที่แล้วว่า ในจำนวนเงินลงทุน 3 เหรียญ จะมีอยู่ราว 1 เหรียญ ที่เป็นการลงทุนที่ยั่งยืน ปัจจุบัน ขนาดการลงทุนที่ยั่งยืน ได้ลดลงมาเป็น 1 ใน 4 เมื่อเทียบกับเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด


[Original Link]